กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บ้านสร้างสุข โรงเรียนบ้านท่าด่าน ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8420-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าด่าน
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิบรอฮิม หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.899161,101.37085place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 169 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
50.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด
30.00
3 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
20.00
4 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน
30.00
5 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง จากการสำรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดและผู้เสพยาเสพติดมากขึ้นจากเดิม ที่ผู้เสพส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่ปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้เสพที่อยู่ในนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จึงเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดได้มีการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้นและหนักขึ้นเป็นทวีคูณ มีจำนวนผู้เสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ มีเขตพื้นที่ติดต่อหลายตำบลมีเส้นทางจำนวนมากที่ทำให้กลุ่มผู้เสพยาเสพติดและกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดมักมีการลักลอบซื้อขายยาเสพติดกันในพื้นที่เป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ จึงจำเป็นต้องมีโครงการและมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ลดเบาบางจนหมดสิ้นไป คณะครูโรงเรียนบ้านท่าด่าน จึงได้จัดทำโครงการบ้านสร้างสุข โรงเรียนบ้านท่าด่าน ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 90 นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข

50.00 90.00
2 เพื่อให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 80 โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข

30.00 60.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 90 3. นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข

20.00 80.00
4 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

30.00 50.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

20.00 50.00
6 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

50.00 20.00
7 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

30.00 10.00
8 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

10.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,700.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 บรรยายให้ความรู้พิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข และการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ในวัยเรียน 0 11,450.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 เดินรณรงค์วันงดสารเสพติดและอบายมุข (26 มิถุนายน ) 0 5,250.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามและถอดบทเรียนการดำเนินงานกิจกรรม 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดและอบายมุข
2.โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข
3.นักเรียน ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข
4.ส่งเสริมให้ผู้ปกครองไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและอบายมุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 09:37 น.