กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 63 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันตำบลท้ายน้ำ มีสถานประกอบการต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้าน จำนวน ๖๓ ร้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิดขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่ายจากการดำเนินงานเก็บข้อมูลตรวจร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในตำบลท้ายน้ำ พบว่าบางร้านมีการจำหน่ายยาอันตรายให้กับคนในชุมชน , มีการจำหน่ายอาหารหมดอายุ , ไม่มีการติดป้ายหรือแสดงราคาสินค้าให้เห็นชัดเจน และมีการจำหน่ายอาหารที่เสี่ยงต่อการพบสารปนเปื้อนการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ ต้องทำการตรวจร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยอยู่เสมอเนื่องจากสถานประกอบการต่างๆ ในตำบลมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ในแต่ละปี เพื่อประเมินร้านค้าพร้อมทั้งให้ความรู้แก่ร้านค้าสามารถเลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนมาจำหน่ายแก่ประชาชนตำบลท้ายน้ำ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และให้ประชาชนตำบลท้ายน้ำปลอดภัยจากการอุปโภคและบริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อตรวจประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและให้ความรู้แก่แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านขายของชำในชุมชน 2. เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลท้ายน้ำ
  1. ร้านค้าแผงลอยมีความรู้และตระหนักในเรื่องมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยไม่พบสารปนเปื้อนในอาหารได้ 2 ประชาชนตำบลท้ายน้ำสามารถบริโภคอาหารและยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. ประชาชนตำบลท้ายน้ำสามารถบริโภคอาหารและยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,890.00 0 0.00
1 ธ.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 1. เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2. ออกตรวจร้านขายของชำ 1 ครั้งและร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร 1 ครั้ง พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร 3. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่มีจำหน่ายในพื้นที่เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร 4. คืนข้อมูลผลการตรวจร้านอาหารพร้อมความรู้ 0 12,890.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้านค้าแผงลอยมีความรู้และตระหนักในเรื่องมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร และประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยไม่พบสารปนเปื้อนในอาหารได้ 2 ประชาชนตำบลท้ายน้ำสามารถบริโภคอาหารและยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. ประชาชนตำบลท้ายน้ำสามารถบริโภคอาหารและยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2565 00:00 น.