กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติติการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3006-02-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านน้ำใส
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 พฤษภาคม 2567 - 29 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 16,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอซีด๊ะ ลือแบซา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอิสมาอีลล์ เหตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะยิไร อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.666,101.417place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 96.66 ติดบ้าน ร้อยละ 2.73 และติดเตียง ร้อยละ 0.62 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบ มักเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 15.55 โรคเบาหวาน ร้อยละ 9.84 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 7.72 ภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 0.88 และภาวะหกล้ม ร้อยละ 3.12 ในปี พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 2,018 คน หรือเฉลี่ยวันละ 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากถึง 1,046 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน และร้อยละ 50 ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มเสียชีวิตใน 1 ปี (กรมควบคุมโรค, เมษายน 2562) และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ 5 ด้าน ในปี 2563 และ 8 ด้าน ในปี 2564 พบว่า ผุ้สูงอายุมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ร้อยละ 37.8 และ ร้อยละ 30.8 ตามลำดับ การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพคือระบบและกลไกลการดำเนินงานสาธารณสุขเชิงรุกที่สำคัญในการติดตามสถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง     ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำใส จึงได้จัดทำ “โครงการอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ ปี 2567” เพื่อการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 ด้าน เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนเผยแพร่สถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมเสี่ยงหรือเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหรือตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพที่กำลังเป็นปัญหา ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่เป็นอยู่ ลดการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และได้อาศัยอยู่ในชุมชนหรือเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในอนาคต และลดภาระด้านเศรษฐกิจของประเทศ สังคม และครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67
1 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองผู้สูงอายุ 10ด้าน การดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงในเขตที่รับผิดชอบ ให้กับแกนนำสุขภาพ(28 พ.ค. 2567-29 พ.ค. 2567) 16,450.00  
รวม 16,450.00
1 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองผู้สูงอายุ 10ด้าน การดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงในเขตที่รับผิดชอบ ให้กับแกนนำสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 16,450.00 0 0.00
28 - 29 พ.ค. 67 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองผู้สูงอายุ 10ด้าน การดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงในเขตที่รับผิดชอบ ให้กับแกนนำสุขภาพ 60 16,450.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านการอบรมสามารถพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนในการดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ชุมชนมีการจัดระบบการเฝ้าระวังและการดูแลผู้ป่วยโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถจัดการด้านสุขภาพการแก้ปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 16:26 น.