กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ทต.กำแพงเพชร ปี 2567
รหัสโครงการ 67 - L8020 - 01 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลรัตภูมิ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ทพญ.มะลิวัลย์ สุวรรณเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 24,940.00
รวมงบประมาณ 24,940.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 436 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจโรคฟันผุในจังหวัดสงขลา พ.ศ.2565 พบว่าในกลุ่มเด็ก 12 ปี เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 35.6 และจากการสำรวจโรคฟันผุในอำเภอรัตภูมิ ในกลุ่มเด็ก 12 ปี เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 43.9 ซึ่งสูงกว่าระดับจังหวัด โรคฟันผุในเด็กมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลกำแพงเพชร คือโรงเรียนบ้านชายคลองและโรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา ในปีการศึกษา 2566 พบปัญหานักเรียนมีฟันผุสูงมากถึงร้อยละ 68.35 จากการดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ในปีการศึกษา 2566 ทำให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทั้งโรงเรียน เด็กที่มีปัญหาได้รับการส่งต่อไปเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรมมาก ขึ้น มีการจัดอบรมครูและนักเรียนแกนนำ รวมถึงการฟื้นฟูกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และการแปรงฟันที่บ้าน ดังนั้นในปีการศึกษา 2567 ที่จะมาถึงนี้ กลุ่มงานทันตกรรมจึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ปี 2567 ขึ้นเพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีในพื้นที่เทศบาลตำบลกำแพงเพชร

เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีในพื้นที่เทศบาลตำบลกำแพงเพชรผ่านเกณฑ์การประเมินการเข้าสู่กระบวนการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

2 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันวิถีใหม่ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันวิถีใหม่ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน

3 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม เเละเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) เเละมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการเเละจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน

4 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เเละทุกชั้นเรียน

5 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนในเครือข่าย

ร้อยละ 80 ของแกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพมีระดับคะแนนของเเบบทดสอบหลังให้ความรู้เพิ่มขึ้น

6 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง

โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อย 1 เรื่อง

7 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครื่อข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษา เพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย

8 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมการประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

9 เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรเข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรมเเละมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 24,940.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี 0 4,700.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมคณะทำงาน/นักเรียนแกนนำ 60 2,240.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย 0 17,500.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กนักเรียน ชั้น ป.1 - ป.6 ในเครือข่าย 0 500.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

  1. ชี้แจงโครงการกับผู้บริหารโรงเรียนและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบโดยมีข้อตกลงในการดำเนินงานดังนี้

    1.1 โรงเรียนจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน

    1.2 โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน

    1.3 โรงเรียนมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน

    1.4 มีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อย 1 เรื่องต่อหนึ่งเครือข่าย

    1.5 มีระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพทุกโรงเรียน ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูหรือทันตบุคลากรเป็นผู้ตรวจสุขภาพ ช่องปากนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และ ชุมชน รวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

    1.6 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่ายต่าง ๆเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพของโรงเรียน

    1.7 เครือข่ายสุขภาพอำเภอรัตภูมิให้การสนับสนุนทางวิชาการและทรัพยากรต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการสร้างเครือข่าย เอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานร่วมกันภายในเครือข่าย

  2. สำรวจกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันวิถีใหม่ เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ที่เกิดจากกิจกรรมการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์โรงเรียนในเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูประจำชั้น หรือแกนนำนักเรียนคอยกำกับดูแลความเรียบร้อย โดยการตรวจสอบใน 4 ประเด็น ได้แก่ 2.1 อุปกรณ์การแปรงฟันครบถ้วน ประกอบด้วย แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ 2.2 ปฏิบัติกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียน 2.3 จัดเก็บอุปกรณ์แปรงฟันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 2.4 ฟันสะอาดหลังจากแปรงฟันจากการสังเกตแผ่นคราบจุลินทรีย์หรือการย้อมสีฟัน

  3. สำรวจและเก็บข้อมูการบริโภคอาหารว่างและควบคุมการบริโภคอาหารว่างที่เสี่ยงต่อฟันผุในโรงเรียน
  4. วางแผนการดำเนินงานบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
  5. สำรวจและเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของนักเรียนภายในโรงเรียนโดยครูและทันตบุคลากร และเกิดการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนรวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม โดยหารือร่วมกับกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ
  6. จัดอบรมคณะทำงานเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก วิธีการแปรงฟันวิถีใหม่ การใช้ไหมขัดฟันและฝึกปฏิบัติจริงให้แก่คณะทำงาน ประกอบด้วยครูอนามัย ครูประจำชั้น และแกนนำนักเรียนโรงเรียน
  7. จัดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก
  8. เจ้าหน้าที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิออกให้บริการทันตกรรม โดยให้บริการตรวจฟันลงในแบบบันทึกการตรวจฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน ชั้น ป.1-ป.6 เคลือบฟลูออไรด์เด็กอายุ 6-12 ปี โดยใช้ฟลูออไรด์เข้มข้นเฉพาะที่ และเด็ก นักเรียน ป.1-ป.6 ได้รับบริการทันตกรรม ขูด/อุด/ถอน ตามความเหมาะสม
  9. มีการจัดกิจกรรมรณรงค์และประกวดผลงานวิชาการด้านทันตสุขภาพเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่าย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เครือข่ายสุขภาพอำเภอรัตภูมิให้การสนับสนุนทางวิชาการและทรัพยากรต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการสร้างเครือข่าย เอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานร่วมกันภายในเครือข่าย เกิดการกำหนดนโยบายส่งเสริม ทันตสุขภาพในโรงเรียนเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2. โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันวิถีใหม่ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน

  3. โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุปกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน

  4. โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน

  5. โรงเรียนในเครือข่ายมีระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพทุกโรงเรียน ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูหรือทันตบุคลากรเป็นผู้ตรวจ สุขภาพช่องปากนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครัง มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และ ชุมชน รวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมทำให้นักเรียนเข้าถึงการบริการทันตกรรมมากขึ้นและมีความครอบคลุมมากขึ้น

  6. โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อย 1 เรื่อง

  7. นักเรียน ป. 1 - ป. 6 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 13:39 น.