กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2 เขตเทศบาลตำบลท่าเสา ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสา
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 152 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจน การมีส่วนร่วมของชุมชน จากสถานการณ์โรคไตของจังหวัดพิจิตร พบว่าปี 2564-2565 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 1,633 คน และ 1,847 คนตามลำดับ โดยผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาท/คน/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณถึง 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อป่วยยังทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสาขาโรคไต เพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอ การเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการโรคไตที่มีคุณภาพเสมอภาคทุกเครือข่าย จากข้อมูลการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรเขตเทศบาลตำบลท่าเสา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 154 คน พบว่า อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม อยู่ในระยะที่ 2 (ค่า eGFR 60 – 89%) จำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 56.49 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564ร้อยละ 0.17ซึ่งในอนาคตประชาชนเขตเทศบาลตำบลท่าเสาอาจมีการเสื่อมของไตเพิ่มมากขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีภาวะไตวายขึ้นได้ กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้หากยังไม่ได้รับ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูภาวะไตเสื่อมอย่างถูกต้อง ก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ในอนาคตอีกทั้งยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยทั้งในชุมชน และระดับหน่วยบริการด้านสาธารณสุข จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาได้เล็งเห็นความสำคัญของการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง(CKD) ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งด้านการรับประทานอาหารการรับประทานยา และการออกกำลังกาย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตและให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองการทำงานของไต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองการทำงานของไตในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

100.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2

 

90.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม ระดับ 2 ได้มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง

 

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,880.00 0 0.00
3 - 31 ต.ค. 65 ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
3 - 31 ต.ค. 65 ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
3 - 31 ต.ค. 65 ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
1 - 30 พ.ย. 65 ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 หนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 กิจกรรมเจาะเลือด 0 7,280.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 6,600.00 -
1 มี.ค. 66 - 3 ก.ค. 66 การประเมินผล 0 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 สรุปผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการตรวจคัดกรองการทำงานของไตและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง(ระยะที่ 2) ที่ผ่านการอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 3.กลุ่มที่มีภาวะไตเสื่อมมีความรู้และปฏิบัติตัวในการส่งเสริมป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตไม่ให้ ไตเสื่อมเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไตสามารถทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2567 00:00 น.