กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กวัคซีนดี พัฒนาการดี โภชนาการดี ด้วยมือพ่อแม่ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5253-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักเอาะ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 21,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤชพล ดวงยอด
พี่เลี้ยงโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ดังนั้น ในหลายประเทศจึงล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา เด็กในวัยนี้จะต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมมีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
การดูแลเด็กแรกเกิด - 5 ปี จะต้องดูองค์รวมทั้ง 4 ด้าน ด้านแรก คือ จะต้องได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เป็นวัคซีนขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในอนาคต แน่นอนที่สุดการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาในภายหลังของการเกิดโรคไม่ว่าจะด้วยทฤษฎีทางการแพทย์หรือหลักการของศาสนา แทนที่จะให้เกิดค่อยคิดหาวิธี หายา หาทางรักษาในภายหลังอาจจะเป็นสิ่งที่สายเกินไปหากเกิดโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สร้างความเจ็บปวด ทรมาน รำคาญใจ และเสียเงินมากมายซึ่งไม่คุ้มค่าต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง หากมิได้รับภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ ด้านที่สองเฝ้าระวังโภชนาการ ด้านที่สามพัฒนาการสมวัย และด้านสุดท้ายสุขภาพช่องปากดี ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการดูแลและแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะบกพร่องหรือผิดปกติ
ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักเอาะ มีประชากรเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 235 คน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ผ่านมา ปีงบประมาณ 2566 พบว่าจำนวนผู้มารับบริการคลินิกวัคซีนเด็กดีลดลง ทำให้ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในช่วงอายุ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.33 ความครอบคุมการได้รับวัคซีนช่วงอายุ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.86 ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนช่วงอายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.80 และความครอบคลุมการได้รับวัคซีนช่วงอายุ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.50 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับวัคซีนทุกคนเพื่อป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวในอนาคตต่อไป และจากการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการยังพบปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการล่าช้า มีฟันผุ ซึ่งต้องได้รับการติดตามและแก้ปัญหาโดยเร็ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุครบ 1 ปี , 2 ปี , 3 ปี และ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

ร้อยละของเด็กอายุครบ 1 ปี , 2 ปี , 3 ปี และ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 21,980.00 0 0.00
7 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ 40 21,980.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุครบ 1 ปี , 2 ปี , 3 ปี และ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 หรือความครอบคลุมการได้รับวัคซีนแต่ละช่วงอายุเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  2. มีแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการดูแลเด็ก 0 - 5 ปี จำนวน 1 กลุ่ม
  3. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขั้นพื้นฐาน
  4. เด็กอายุ 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 66 , ซีด ไม่เกินร้อยละ 20 และพัฒนาการล่าช้าไม่เกินร้อยละ 20
  5. ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2567 15:52 น.