กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีเขาแดง ใส่ใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5253-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำนงค์ จันทร์อินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากโรคมะเร็งเต้านม จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2565 พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.4 ของมะเร็งทุกชนิดในสตรี โรคมะเร็งที่พบรองลงมา ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคมะเร็งช่องปาก โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจในการดูแลและป้องกันตัวเอง พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดตัวชี้วัด คือ ความครอบคลุม ร้อยละ 20 ของสตรีที่มีอายุ 30 - 60 ปี ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยจากการปฏิบัติงานทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพผู้เจ็ดป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พบว่า ที่ผ่านมาจำนวนผู้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 - 60 ปี โดยในปีงบประมาณ 2558 , 2559 และ 2560 อัตราความครอบคลุมสตรีกลุ่มเป้าหมายที่อายุ 30 - 60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ 42.37 , 31.02 และ 36.37 ตามลำดับ
  จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ บริบทพื้นที่ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นป่าเขายากแก่การมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งประชาชนยังขาดความรู้ ความตระหนักและไม่เห็นความสำคัญ ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเชิงรุกน้อยลง ส่งผลให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุข
  ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด ร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสะบ้าย้อย มีความตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวความคิดในการทำงานร่วมกัน นำรูปแบบการทำงานเชิงรุกมาใช้ โดยใช้ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่อย่างเต็มที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์สอดแทรกเสริมให้กับกลุ่มพลังมวลชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด จึงได้ทำโครงการสตรีเขาแดง ใส่ใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test

ร้อยละสตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 12,400.00 0 0.00
8 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ 100 12,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และตระหนักในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมารับบริการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น
  2. ทำให้สามารถตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรกของการป่วย ซึ่งทำให้รักษาหายได้ ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและงบประมาณในการรักษา
  3. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ป่วย/ตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูกน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2567 14:39 น.