กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤตุิกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5253-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 33,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำนงค์ จันทร์อินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆ ของประเทศไทย คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด มีอัตราตาย 85.04 , 3.64 , 55.25 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2550) และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ ขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ราษฎรจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2550 พบว่าคนไทยมีเพียง 5 ล้านคนเท่านั้น ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 ของภาควิชาโภชนาวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 39,290 คน พบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.97 และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองสุขศึกษา จึงได้สนับสนุนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ในพื้นที่หมู่บ้านที่มีความพร้อมครอบคลุม 76 จังหวัด ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบโดยส่งเสริมให้ราษฎรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการ ได้แก่
1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 - 5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที 2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในประมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ราษฎรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ถึงร้อยละ 20 - 30 ตามลำดับ ทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินงาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554 - 2563 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและรยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีค่า BMI เกิน มีค่า BMI ลดลงจากก่อนการเข้าร่วมโครงการ

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 33,400.00 0 0.00
8 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ 120 33,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
  2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
  4. อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2567 15:10 น.