กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรำวงย้อนยุคสร้างเสริมสุขภาพกายเเละจิตของผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 67 - L8020 - 02 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมลีลาศรัตภูมิ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 26 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุพดี กาญจนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2567 26 ส.ค. 2567 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

จากโครงการสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะหลายรูปแบบที่ชมรมลีลาศรัตภูมิได้ดำเนินการมา สามารถนำมาใช้เป็นฐานความรู้และทักษะเพื่อการรำวงย้อนยุค เพราะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและเหมาะสมในการสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุ เนื่องจากได้เต้นโยกตามเสียงเพลงช่วยลดความเหงาและความว้าเหว่ เพราะผู้สูงวัยได้สังสรรค์ช่วยคลายเหงาและลดความว้าเหวได้อย่างดี ที่สำคัญยังได้บริหารกล้ามเนื้อ เพราะการเต้นรำวงจำเป็นต้องเดินไปมา มีการย่อเข่าตามจังหวะเพลงที่ไม่ได้เร็วมาก ช่วยเรื่องการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้บริหารข้อต่อและกล้ามเนื้อ อีกทั้งได้ยกแขนก็ถือเป็นการบริหารร่างกายทุกส่วนเช่นกัน การร้องรำที่ผู้สูงอายุคุ้นเคยในอดีตตั้งแต่เห็นปู่ย่าตายายร้องเล่นเต้นรำ ตั้งแต่เด็ก กระทั่งวัยสาวจนถึงวัยสูงอายุ สิ่งเหล่านี้เป็นความสุขใจและเป็นความอบอุ่น ทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจกับสิ่งที่ท่าน คุ้นเคยเมื่อในอดีต การรำวงย้อนยุคเป็นการใช้รูปแบบการร้องรำทำเพลงเพื่อช่วยให้คนสูงอายุมีกิจกรรมทำ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและไม่รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เน้นทำให้คนสูงวัยได้แจ่มใสและสดชื่นไปตามจังหวะเสียงเพลงที่สนุกสนานและคุ้นเคย อันประกอบไปด้วย 3 สเต็ปคือ การวอร์มอัพร่างกายก่อนเต้น ต่อด้วยการเต้นหรือร่ายรำในท่ากายบริหาร ตามด้วยการลดจังหวะความเร็วในการเต้นและเดินให้ช้าลง หรือที่เรียกกันว่าวอร์มดาวน์ จึงเห็นสมควรจัดโครงการรำวงย้อนยุคสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายแบบขยับร่างกายไปช้า ๆ เป็นการบริหารร่างกายได้แทบทุกส่วนในขณะที่ได้ความสุขใจที่ได้ฟังเสียงเพลงและได้เข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ทำให้ไม่เป็นโรคซึมเศร้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างเสริมสุขภาพกายและจิตที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการด้วยกิจกรรมรำวงย้อนยุค

ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน มีสุขภาพกายเเละจิตดีขึ้นด้วยการรำวงย้อนยุคตามหลักสูตรรำวงย้อนยุคสร้างเสริมสุขภาพกายเเละจิตของผู้สูงอายุ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 15,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 67 - 26 ส.ค. 67 กิจกรรมประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการเเละรับสมัครผู้เข้าร่วม 30 คน 30 300.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมรำวงย้อนยุค 0 12,750.00 -
1 ก.ค. 67 - 26 ส.ค. 67 กิจกรรมสรุปและประเมินผลโครงการ 0 1,950.00 -
1 - 26 ส.ค. 67 กิจกรรมย่อย 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

1.เสนอขออนุมัติโครงการรำวงย้อนยุคสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุต่อคณะกรรมการ

2.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ที่สนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

3.ติดต่อขอใช้สถานที่อาคารผู้สูงอายุโรงพยาบาลรัตภูมิ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำกิจกรรมตามโครงการ

4.เชิญวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญมาให้การฝึกกิจกรรมตามเวลาที่กำหนดไว้

5.จัดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนมีส่วนร่วม หลังสิ้นสุดโครงการสมาชิกนำทักษะที่ได้ไปทำกิจกรรมกับชุมชนได้

6.สรุปประเมินผลกิจกรรมและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ มีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดีขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการมีความสามัคคีซึ่งกันและกันและเกิดความสัมพันธ์อันดีในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2567 11:10 น.