กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตโรคลดแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กรรณิการ์ เหละดุหวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
17.19
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
13.90
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
68.48
4 ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต
33.42
5 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน
2.67
6 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง
7.72

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประชาชนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่อง อาหารการกิน การออกกำลังกายและการจัดการความเครียด ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือไม่ก็เกิดความพิการทางด้านร่างกาย เช่นอัมพฤกษ์-อัมพาต บั่นทอนคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน คลินิก NCDของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 390 ราย สามารถ ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 66.58 ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต ร้อยละ 33.42 เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 13.50 ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมองจำนวน 3ราย คิดเป็นร้อยละ 0.76 โรคหลอดเลือดหัวใจ 1 รายคิดเป็นร้อยละ 0.25 และมีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 147 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดร้อยละ 31.52 ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 68.48จากผลการตรวจตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปปี 2566พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ค่าระดับน้ำตาล100-125 mg/dl)ร้อยละ17.19กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานร้อยละ 2.67ผู้ป่วยรายใหม่13 รายมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิต ตัวบน 130-139 ตัวล่าง 85-89 mm.Hg ร้อยละ 13.90 กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงร้อยละ 7.78ผู้ป่วยรายใหม่32ราย จากข้อมูลจำนวนรายใหม่ของความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีเพิ่มขึ้นทุกๆปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มผู้เสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตโรคลดแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงและเบาหวาน”ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการ เกิดผู้ป่วยรายใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยนำหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 3ส 1น.ตามวิถีชุมชน เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3ส 3อ.1น

17.19 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3ส 3อ.1น

13.90 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ร้อยละ 40  ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

68.48 40.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละ 60  ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

33.42 60.00
5 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

ร้อยละ 90 ของกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

2.67 90.00
6 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

ร้อยละ90 กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

7.72 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,400.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 5.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน มาเพื่อเจาะเลือดส่งตรวจโรงพยาบาลยืนยันผล หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย 0 0.00 -
4 มี.ค. 67 - 28 มิ.ย. 67 3.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อตรวจยืนยัน 0 0.00 -
7 พ.ค. 67 - 8 ก.พ. 67 1.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 100 คนจัดอบรมเป็น 4 ฐานการเรียนรู้1. 0 24,400.00 -
11 - 28 มิ.ย. 67 2.ติดตาม กลุ่มเป้าหมายหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3ส 3อ.1น ไป 1 เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้และนำไปปฏิบัติ ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2 .กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพ และจัดการสุขภาพของตนเอง 3. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ป่วยรายใหม่ลดลดลงจากปีก่อน 4. กลุ่มป่วยมีการควบคุมระดับความดันและน้ำตาลดีขึ้นจากปีก่อนและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2567 00:00 น.