กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3367-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 20 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 6 , 7 และ 9 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน

โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก 1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2.มะเร็งปอด 3.มะเร็งเต้านม 4.มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 5.มะเร็งปากมดลูก จากข้อมูล 5 ปีย้อนหลังของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต ร้อยละการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในปี 2563-2566 คิดเป็นร้อยละ 91.82, 83.72, 83.72 และ 88.54 ตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี 2563-2566 คิดเป็นร้อยละ 32.93, 41.64, 58.71 และ 59.22 ตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ในปี 2563-2565 คิดเป็นร้อยละ 98.00, 100 และ 100 ตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งยังไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต คือ 1.ไม่อยากตรวจกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ มีความอับอาย 2.ขาดความใส่ใจและตระหนักในสุขภาพของตนเอง 3. ภาระการทำงาน ไม่มีเวลา 4.กลัวเจ็บ 5.กลัวผลการวินิจฉัยและยอมรับไม่ได้ถ้าผลตรวจเป็นมะเร็ง ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือการตรวจคัดกรองที่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง จึงรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองให้ครอบคลุมมากขึ้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกับ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็วเหมาะสม รวมไปถึงการติดตามผู้ป่วยรายใหม่ระยะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ต่อเนื่องเพื่อลดอัตราตายในระยะยาว

150.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก 1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2.มะเร็งปอด 3.มะเร็งเต้านม 4.มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 5.มะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลศรีบรรพต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคมะเร็ง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง ปีงบประมาณ 2567 เพื่อดูแล คัดกรอง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก

สตรี อายุ 30 -70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองถูกต้อง ร้อยละ 80 สตรี อายุ 30- 70 ปี ได้รับการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 80 สตรี อายุ 30- 60 ปี ได้รับคัดกรองการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองและเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20 ประชากรที่มีอายุ 50- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 50

75.00 75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,360.00 0 0.00
13 พ.ค. 67 - 20 ส.ค. 67 จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองประชากรที่มีกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็ง ในหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ,7 ,9 ตำบลเขาย่า 0 9,360.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 80 2.สตรีอายุ 30- 60 ปี ได้รับคัดกรองการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองและเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20 3.ประชากรที่มีอายุ 50- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 50 4.ผู้ที่พบผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 09:49 น.