กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการตรวจประเมินพัฒนาการที่สมวัยและควบคุมการเกิดโรคโลหิตจางในเด็ก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1516-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 8,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุวดี ลื่อเท่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 0 – 5 ปี ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ และจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจ เกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะ อาหาร และการเสียเลือดจากประจ าเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุ ที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็น ส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้าน กายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียน ของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการการตรวจประเมินพัฒนาการที่สมวัยและควบคุมการเกิดโรคโลหิตจางในเด็ก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-5 ปี ให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์

 

2 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังการตรวจพัฒนาการอายุ 9,18,30,42,60 เดือน ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ด้วยวิธี DSPM

 

3 เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางโดยส่งเสริมและเฝ้าระวังคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือดด้วยการเจาะเลือดตรวจฮีมาโตคริต (Hct) ในเด็ก 6 เดือน - 5 ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดทะเบียนรายชื่อเด็กที่มีอายุครบ 9, 18, 30, 42 ,60 เดือน และทะเบียนเด็ก 0-5 ปี

2.จัดเตรียมคู่มือการตรวจพัฒนาการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจพัฒนาการแต่ละช่วงวัย

3.ประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญชวน พ่อแม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก อายุ 0-5 ปี เข้าร่วมโครงการ/ลงทะเบียนและรับใบนัดบริการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก

4.ให้ความรู้แก่ ผู้ปกครองเด็กแรก เกิด – 5 ปี เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, โภชนาการ,ด้านส่งเสริมพัฒนาการ และการดูแลฟัน

5.เจ้าหน้าที่ทำการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามช่วงอายุครบ 9,18,30,42, 60  เดือน ในให้บริการตรวจพัฒนาการทุกวันอังคาร เวลา 09.00 - 12.00 น. และออกติดตามเยี่ยมบ้าน ทุกวันอังคาร เวลา 13.30 น.เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม.ที่ไดัรับการอบรมการคัดกรองพัฒนาการเด็ก กระตุ้นพัฒนาการและประเมินซ่้ำภายใน 1 เดือน หากยังมีพัฒนาการล่าช้า ส่งพบแพทย์

6.เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะทุกราย

7.เด็ก 6 เดือนถึง 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือด

8.สรุปและติดตามผลการดำเนินทุกเดือน และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยและได้รับการกระตุ้น ส่งเสริมโดยผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

  2.เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ได้รับการส่งต่อได้ทันเวลา

  3.เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน

  4.เด็ก 9,18,30,42,60 เดือน ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ด้วยวิธี DSPM

  5.เด็ก 6 เดือนถึง 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 11:55 น.