กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกัน ควบคุม และคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุม และคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1516-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 60,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุวดี ลื่อเท่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อที่มียุงลายเป็นพาหะ ลักษณะสำคัญของโรคคือ ไข้ลดลงอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยจะมี อาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น บางรายมีอาการปวดท้องมากก่อนจะมีอาการช็อค ถ้าการรักษาไม่ทันผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะ Profound shock และเสียชีวิตได้ใน 24 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการช็อค โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
      ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและ ร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
        ตำบลเขาวิเศษ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรค ไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
        ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการป้องกัน ควบคุม และคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจแอนติเจนหรือพาหะการเป็นโรคไข้เลือดอก

 

2 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออกรับการตรวจเพื่อการวินิจฉัย

 

3 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ 2

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจแอนติเจนหรือพาหะการเป็นโรคไข้เลือดอก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออกรับการตรวจเพื่อการวินิจฉัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ 2

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ
    1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ

    2. จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงานกับทีม CDCU ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

    3. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่ม อสม. ทราบประชาสัมพันธ์ประชาชนทั่วไป เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมายและชี้แจ้งขั้นตอนการคัดกรองการตรวจ Atigrn test ในสถานบริการ

    4. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก

    5. ประสานกับพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก

  1. ดำเนินการอบรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย

  2. การคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อเด็งกี่เชิงรุก หากพบผู้ป่วยเป็นบวกส่งทำการยืนยันกับผลการห้องปฏิบัติการ ณ โรงพยาบาล

  3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

  4. ปรับปรุงพัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน /โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับการเข้าถึงการตรวจแอนติเจนหรือพาหะเชื้อเด็งกี่เพื่อรับการวินิจฉัยโรคไข้เลือดอกอย่างรอดเร็ว
  2. ประชาชนกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออกรับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยเพื่อทำการส่งรักษาได้ทันถ่วงที
  3. สถานบริการได้มีการพัฒนาการคัดกรองเบื้องต้นในการคันหาผู้ป่วยติดเชื้อเด็งกี่เพิ่มเติม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 14:09 น.