กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยใสห่างไกลเหาด้วยสมุนไพรไทยประจำปี2567
รหัสโครงการ 2567-L5186-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,813.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยอดชาย สมจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 7,813.00
รวมงบประมาณ 7,813.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียนในพื้นที่ตำบลสะกอมมีเหา
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2566 พบว่านักเรียนเป็นเหา 287 คนคิดเป็นร้อยละ 89.96 ของนักเรียนหญิงทั้งหมดในโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียนโดยการใช้สมุนไพรไทยขึ้น เพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายได้

นักเรียนมีความรู้ และสามารถดูแลตนและรักษาความสะอาดของตนเองได้

60.00 80.00
2 เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่

มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรื่องสุขภาพ

50.00 70.00
3 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

80.00 90.00
4 เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ไม่ก่อให้เกิดการระคายระเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหา

นักเรียนไม่มีการใช้ยากำจัดเหา

50.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,813.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 เก็บข้อมูลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากการตรวจสุขภาพนักเรียน 0 0.00 -
1 ก.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำยากำจัดเหา 0 1,905.00 -
1 ก.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ที่อยู่อาศัยและการใช้ของใช้แยกกัน 0 610.00 -
1 ก.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 สาธิตการทำน้ำยากำจัดเหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกำจัดเหาให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม 0 5,298.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน 1 เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีความรู้ สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเอง

2.ลดการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

3.สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 15:20 น.