กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและรณรงค์ตรวจคัดกรองและค้นหามะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย อสม. และแกนนำสตรี รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและรณรงค์ตรวจคัดกรองและค้นหามะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย อสม. และแกนนำสตรี รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1516-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 24,854.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักขณา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทสไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 3 คน ในประชากรแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30 - 60 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และ วิธีการตรวจ HPV DNA TESTING ซึ่งเป็นวิธีตรวจหาเชื้อเอชพีวีแบบเจาะลึกถึงระดับเซลล์ ป้องกันมะเร็งปากมดลูกก่อนลุกลามได้ ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกจะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรี จำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติไม่ดีต่อการตรวจ มีความเขินอาย บัดสี ไม่กล้าเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการระยะเริ่มต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามรถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

      สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า พบว่า กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2562 – 2566 ร้อยละ 81.93 พบผู้มีเซลล์ผิดปกติ 2 คน และสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 93.94 พบผู้มีเซลล์ผิดปกติ 1 คน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองพบผิดปกติ 1 คน สตรีกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ตรวจเต้านมที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและ อสม.  ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้นการให้ความรู้ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต และฝึกทักษะในการตรวจเต้านม การสร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มสตรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลป้องกันตนเอง การตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติในระยะแรก ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ลดอัตราป่วยและลดอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด ของมะเร็งทั้ง 2 ชนิด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก เพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม และการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและรณรงค์ตรวจคัดกรองและค้นหามะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย อสม. และแกนนำสตรี ปีงบประมาณ 2567 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสตรี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

2 สตรีสอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมตนเอง โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำสตรี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

 

3 สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง ( HPV Salf – Sampling ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินตามโครงการ

  1. อสม.สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน

  2. จัดทำทะเบียนรายชี่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ( คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ) และทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี ( คัดกรองโรคมะเร็งเต้านม )

3.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ

  1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ

ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ

6.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำสตรี

        - การตรวจมะเร็งปากมดลูกโดย Pap Smear และ วิธีการตรวจ HPV DNA TESTING ซึ่งเป็นวิธีตรวจหาเชื้อเอชพีวีแบบเจาะลึกถึงระดับเซลล์ ป้องกันมะเร็งปากมดลูกก่อนลุกลามได้
        - การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองโดยการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง ( HPV Salf – Sampling ) เพื่อเพิ่มทางเลือกการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่เป็นวิธีที่สะดวกต่อผู้รับบริการ โดยเฉพาะสตรีที่ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมาก่อน
        - โรคมะเร็งเต้านม ฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดย อสม. และแกนนำสตรี

7.อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสตรีให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแกสตรีกลุ่มเป้าหมาย

8.จัดคลินิกในสถานบริการ จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

        - การตรวจการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear  ( ตรวจเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เคยได้รับการตรวจมาก่อน )

        - รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองโดยการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง ( HPV Salf – Sampling ) (ปีงบประมาณ 2567 ตรวจเฉพาะสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยได้รับตรวจคัดกรองโรคมาก่อน และเป็นวิธีการตรวจคัดกรองโรควิธีใหม่ )
        - รณรงค์การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย อสม. แกนนำสตรี

9.แจ้งผลตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ

10.ส่งต่อและติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง หากพบมีความผิดปกติ ส่งต่อพบแพทย์ทุกราย เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาตามาตรฐานและต่อเนื่อง

11.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

12.รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำสตรี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและตระหนักเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม และ สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง พร้อมถ่ายทอดความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง

2.กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและ แกนนำสตรี

3.กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง ( HPV Salf – Sampling )

4.กลุ่มเป้าหมาย ที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรงลดลง

5.กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาและติดตามการเยี่ยมบ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 15:36 น.