กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้อย
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ธันวาคม 2566 - 15 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 13,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัฏฐา ขุนทวี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.044906,100.289673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ธ.ค. 2566 15 ส.ค. 2567 13,550.00
รวมงบประมาณ 13,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตประชากรไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้รูปแบบการเจ็บป่วยเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่พบมากที่สุดคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของโรคเรื้อรัง คือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารหวานจัด เค็มจัด มากเกินกว่าสัดส่วนที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน ไม่รับประทานผักผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตสะดวกสบายเกินไป ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้ช้า เนื่องจากมีระยะการดำเนินโรคที่ยาวนาน การก่อตัวของโรค จึงเกิดขึ้นทีละน้อย และมักเกิดในวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อประชาชนเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว การรักษาให้หายขาดเป็นไปได้ยาก และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้ง่าย ซึ่งปัญหาของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงนอกจากจะทำให้สูญเสียสภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการรักษาที่ยาวนานยังสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม และความมั่นคงของชาติอีกด้วย ระบบสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีนโยบายในการสร้างสุขภาพนำซ่อมเพื่อแก้ปัญหา โรคเรื้อรังโดยเน้นการคัดกรองสุขภาพเพื่อให้สามารถค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงได้คลอบคลุม นำไปสู่การกำหนดรูปแบบกิจกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ และสามารถค้นหาประชากรกลุ่มสงสัยรายใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กลุ่มสงสัยรายใหม่ได้รับการวินิจฉัยโรค และรักษาจากแพทย์ตามเกณฑ์ ได้อย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคและการลดอัตราการตายที่อาจเกิดขึ้น จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรังของตำบลบ้านน้อย ปีงบประมาณ 2562 -2564 พบว่า มีอัตราป่วยเบาหวานรายใหม่จาก กลุ่มเสี่ยงเบาหวานร้อยละ 0.67, 0.89 และ 2.63 ตามลำดับ อัตราป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จาก โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.48 , 4.72 และ 3.61ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งปัญหาระหว่างการคัดกรอง พบว่า มีผู้ป่วยบางกลุ่มไม่ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังในปีที่ผ่านๆ มา โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น บางรายไม่ทราบว่ามีการคัดกรองโรคเรื้อรัง บางรายไม่สมัครใจเข้ารับการคัดกรองเนื่องจากไม่มีอาการผิดปกติบางรายไม่เห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองบางรายอยู่นอกพื้นที่ในช่วงที่มีคัดกรอง ทำให้พลาดโอกาสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมาค้นพบในระยะปรากฏอาการหรือระยะที่เป็นกลุ่มป่วยไปแล้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้อย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตขึ้น เพื่อให้เกิดการคัดกรองโรคเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม นำไปสู่การกำหนดรูปแบบกิจกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองของกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางเมตาบอลิคอย่างน้อยร้อยละ90

 

0.00 0.00
2 2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มสงสัยรายใหม่ ได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1580 13,550.00 0 0.00
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 1 คัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรังด้วยวาจาและตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. 1,500 1,500.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ดำเนินการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานโดยเจ้าหน้าที่และ อสม. 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 จำแนกผลการคัดกรองสุขภาพ โดยแบ่งเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยรายใหม่ 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 80 12,050.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ตรวจซ้ำผู้ที่มีระดับความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทและระดับน้ำตาล ในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีในเขตตำบลบ้านน้อยได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานแความดันโลหิตสูง อย่างมีประสิทธิภาพและรับทราบสถานสุขภาพของตนเอง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีในเขตตำบลบ้านน้อยที่มีผลการคัดกรองที่ผิดปกติได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง 3.สามารถค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้อย่างครอบคลุมและส่งต่อเพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
  3. อุบัติการณ์หรือความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 00:00 น.