กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี งบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3367-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2568
งบประมาณ 17,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 6 , 7 และ 9 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

38.80
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

55.60
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
2.25
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ภาวะความเครียด การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิตหรือหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลศรีบรรพต อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ 2566 พบประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 38.8 ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 55.60 ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) คิดเป็นร้อยละ 2.25 ผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย คิดเป็นร้อยละ 3
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลที่สงสัยจะเป็นโรคและคนที่เสี่ยงสูงตามลำดับ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

38.80 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

55.60 20.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

2.25 1.50
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

3.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,550.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมอบรมแกนนำ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 0 8,400.00 -
1 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 เยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 0 7,650.00 -
16 - 23 ส.ค. 67 ติดตามการดำเนินงาน สรุปโครงการ 0 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2.ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่า ร้อยละ 90 3.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของคนในชุมชน 4.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5.กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตโลหิตสูงได้รับการคัดกรองซ้ำ 6.กลุ่มเลี่ยงที่ผลการตรวจคัดกรองเสี่ยงอีกได้รับการส่งตัวรักษาต่อ 7.กลุ่มป่วย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 10:40 น.