กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ลูกสุขภาพดี ภายใต้รูปแบบนโยบายโครงการ มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
รหัสโครงการ 67-L5295-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประชา หนูหมาด
พี่เลี้ยงโครงการ นางวิภารัตน์ เอี้ยวซิโป
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด
17.65
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
88.24
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
100.00
4 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
81.25

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโตแข็งแกร่งยั่งยืนในทุกด้านประการสำคัญ มุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลักเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อสามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพเกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรงและมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่นมารดาและทารกปลอดภัย ดังนั้น งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กอันส่งผลให้เด็กเกิดมามีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

17.65 14.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

88.24 90.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

100.00 100.00
4 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น

81.25 85.00
5 เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจฟันและได้รับการฝึกแปรงฟันอย่างถูกวิธีโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

เด็ก0-5 ปี ได้รับการตรวจฟันและได้รับการฝึกแปรงฟันอย่างถูกวิธีโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 95

95.00
6 เด็กปฐมวัยปีสูงดีสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย

ร้อยละ 85 ของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
และสูงดีสมส่วนร้อยละ 62

85.00
7 หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ในการดูแลการตั้งครรภ์และการปฏิบัติตัวหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ก.พ. 67 - 31 มี.ค. 67 อบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่แก่หญิงตั้งครรภ์และญาติ 30 7,230.00 -
15 ก.พ. 67 - 20 ก.ย. 67 เยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์เสี่ยง หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิดพร้อมทีมอสม. 5 625.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 40 7,875.00 -
1 เม.ย. 67 พาเยี่ยมชมห้องคลอด ห้องหลังคลอด และคลินิกนมแม่ รพ.ทุ่งหว้า 30 1,300.00 -
รวม 105 17,030.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นจำนวน ร้อยละ 80 2.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3.อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (Low Birth Weight) ไม่เกินร้อยละ 7 4.ร้อยละ 85 ของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
5.ร้อยละของเด็กปฐมวัย สูงดีสมส่วนร้อยละ 64 6.ร้อยละของเด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียวมากกว่า ร้อยละ 60 7.ร้อยละ100 หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ปกครอง มีความรู้ในการดูแลทารก 8.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง และได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2567 10:58 น.