กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 70,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมมัดเฟาซัน หะยีนอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.253place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2567 31 ส.ค. 2567 70,900.00
รวมงบประมาณ 70,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6121 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ของประเทศไทยแล้วยัง เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กและในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่1. ปิด: ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน :เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3.ปล่อย : ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำ หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4.ปรับปรุง : ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติ : ปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
      กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตาเซะ ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในตำบล ขึ้น โดยรณรงค์ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในเขตตำบลตาเซะ โดยให้ผู้ที่มอบหมายออกปฏิบัติหน้าที่ในการพ่นเคมีกำจัดยุงลายร่วมกับ อสม. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในตำบลตาเซะทั้ง 2 แห่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตาเซะ โดยหยอดทรายอะเบทและแจกเอกสารความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลตาเซะ รวมทั้งให้คำแนะนำในการจัดสภาพแวดล้อมของบ้านไม่ให้มีน้ำขัง เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเสนอโครงการนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนครั้งของการพ่นหมอกควันในพื้นที่ครบทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

100.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

 

100.00
4 เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2567 11:29 น.