กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครการส่งเสริมสุขภาพด้วยการกำจัดเหาอย่างปลอดภัยในโรงเรียน
รหัสโครงการ 67-L8330-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดสิทธิโชค
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิชุตา กังงิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนผู้หญิงระดับประถมศึกษา โดยพบว่ามีนักเรียนหญิงที่ติดเหาประมาณ 90 % ของนักเรียนหญิงทั้งหมดในโรงเรียน ซึ่งการดูแลความสะอาดร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ทั้งนี้เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีกเป็นตัวเบียดเบียนกัดศีรษะและดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหาจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียน และเหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากครอบครัวเจอสภาวะทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ครอบครัวอยู่ในฐานะยากจน ทำให้เกิดความละเลยในการดูแลสุขภาพของบุตรหลาน เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่าย ด้วยการดูแลศีรษะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครองครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้อง และรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากการสำรวจนักเรียนผู้หญิงในโรงเรียนที่กล่าวข้างต้น ทางโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในการกำจัดเหาในโรงเรียน โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้และการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะของตนเองอย่างถูกวิธี ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน 2.ติดต่อประสานงานกับสำนักงานเทศบาลตำบลลำภูรา และประสานงานหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเป็นวิทยากรและดำเนินการตรวจสุขภาพร่างกายและหนังศีรษะของนักเรียน 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้กำจัดเหา 4.ดำเนินการตามแผนงาน ดังนี้   1) เจ้าหน้าที่หน่วยบริการให้บริการคัดกรองสุขภาพร่างกายและหนังศีรษะแก่เด็กภายในโรงเรียน   2) ให้เจ้าหน้าที่ให้ความรู้และแนะนำการใช้ยากำจัดเหา ในการรักษาสุขภาพหนังศีรษะที่ถูกต้องให้กับเด็กนักเรียน และ ครู   3) สาธิตการส่างเหาและการใส่ยากำจัดเหา 5.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้สำนักงานเทศบาลตำบลลำภูรา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายและศีรษะ การกำจัดเหาอย่างถูกวิธี 2.นักเรียนไม่มีเหาและไม่มีการแพร่กระจายของเหาภายในโรงเรียน 3.นักเรียนมีสมาธิในการเรียนมากขึ้นและมีบุคลิกภาพที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 14:12 น.