กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อบรรเทาโรคทางระบบกล้ามเนื้อด้วยลูกประคบสมุนไพร
รหัสโครงการ 67-L8330-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนหน้าตลาด-ฮั้งไฮ้ยี่
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิระไชย แก้วไชย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ม.ค. 2567 31 มี.ค. 2567 12,310.00
รวมงบประมาณ 12,310.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้น โดยมีนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง เนื่องจากมีการนำยาสมุนไพรบางชนิดเข้ามาทดแทนยาแผนปัจจุบัน ลดการใช้ยาที่จะส่งผลต่อตับและไตภายหลัง ซึ่งในปัจจุบันสามารถเลือกการรักษาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาภายนอกสู่ภายในด้านการแพทย์แผนไทย เช่น การอบสมุนไพร การสุมยา การดูแลและฟื้นฟูมารดาหลังคลอด การนวดบำบัดรักษาโรค การประคบสมุนไพร ประชาชนส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน จากการเคลื่อนไหวผิดจังหวะ ทำให้เกิดอาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก จึงต้องหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้อาการปวดทุเลาลง โดยหายามาทาหรือรับประทาน การใช้ยาสมุนไพรในการบำบัดโรคเบื้องต้น รวมถึงการนวดบำบัดรักษาโรค และการใช้ลูกประคบสมุนไพรในปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งการนวดจะต้องควบคู่ไปกับการประคบสมุนไพร เพื่อบำบัดรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นลูกประคบสมุนไพรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนโบราณ โดยการนำลูกประคบสมุนไพรมาประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ โดยอาศัยความร้อนและคุณสมบัติของลูกประคบสมุนไพร ทำให้อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้ ลูกประคบสมุนไพรรักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดบำบัดรักษาโรคเสร็จแล้วจึงนำลูกประคบสมุนไพรประคบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จาการประคบ ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรที่โดนความร้อนจะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายและยังช่วยทำให้เนื้้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดปวดช่วยลดการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ด้วยเหตุดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลลำภูรา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนวดด้วยลูกประคบและการผลิตลูกประคบสมุนไพร เพื่อนำไปใช้ในผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาและอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก สร้างสายใยภายในครอบครัวด้วยการนวดประคบผ่อนคลายจากการทำงานให้กับสมาชิกในครอบครัว และโดยเฉพาะการนำลูกประคบสมุนไพรมาใช้ดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและประชาชนผู้ที่สนใจได้นำความรู้ที่ได้ไปดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ทำให้ประชาชนในชุมชนตระหนักและเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทย โดยการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและผลิตลูกประคบสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือนได้ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ และประชาชนมีความรู้ การปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรคทางเลือก

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรา ร้อยละ 90 สามารถเป็นแกนนำสุขภาพ และมีความรู้เรื่องการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรคทางเลือก

2 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่น ใช้ลูกประคบในผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน และผู้ที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่น ใช้ลูกประคบในผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน และผู้ที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ

3 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพและประชาชนส่งเสรสิมภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยให้คงอยู่สืบไป

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องการส่งเสริมภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำแผนงาน/โครงการ 2.เสนอแผนงาน/โครงการ เพื่อขอรับการอนุมัติ 3.ประสานวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 4.ดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ ในการฝึกอบรม 5.ประสานการใช้สถานที่เพื่อทำการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ 6.ดำเนินการจัดโครงการ 6.1 บรรยายให้ความรู้
  - สมุนไพรและการทำลูกประคบสมุนไพรล   - การปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน 6.2 สาธิตและสอนปฏิบัติ   - สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำลูกประคบ สาธิตและฝึกปฏิบัติการประคบสมุนไพร 7.สมุนไพรและประเมินผลโครงการ 8.รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ และประชาชนมีความรู้ การปลูปและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรคทางเลือก 2.ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่น ใช้ลูกประคบในผู้ป่วยติดเตียง ติดเตียง และผู้ที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ 3.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพและประชาชนสร้างภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแผนไทยให้คงอยู่สืบไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 10:43 น.