กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมแม่ เฝ้าระวังลูก เพื่อดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์จนถึงคลอด ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามาล มะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
75.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
75.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในบริการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภพอย่างน้อย 5 ครั้ง จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และควรฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายของมารดาและทารก การฝากครรภ์ช้ามีผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก เนื่องจากการที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง และการการดูแลตามมาตรฐานการฝากครรภ์ช้า จะส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นอกจากนี้ในภาวะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และ สังคม ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลได้ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เห็นความสำคัญของการที่ต้องจัดอบรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์โดยเร็ว เพื่อประเมินปัญหาและดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ดีมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย รวมถึงให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธ์ให้เตรียมความพร้อมในการเป็นมารดาที่ดี สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุดมีคุณภาพตามเกณฑ์ 2. เพื่อประเมินโภชนาการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม 3. เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 4. เพื่อส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ 5. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
  1. เพื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุดมีคุณภาพตามเกณฑ์
  2. เพื่อประเมินโภชนาการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม
  3. เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
  4. เพื่อส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ
  5. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุดมีคุณภาพตามเกณฑ์ 2. เพื่อประเมินโภชนาการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม 3. เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 4. เพื่อส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ 5. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 11,100.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับการเฝ้าระวังและแก้ไขให้คลอดบุตรมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม 3.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการควบคุมและแก้ไขไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะคลอดก่อนกำหนด
  3. มารดาหลังคลอดให้ความสำคัญและตระหนักในการให้นมมารดาอย่างเดียว 6 เดือนและควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึง 2 ชวบ
  4. ชุมชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 00:00 น.