กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค (อสม.จิ๋ว)
รหัสโครงการ 67-L3046-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮัฟเซาะ หะยีดือราปู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.813,101.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
20.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมและป้องกันโรค สามารถดำเนินการทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจของโรคและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในชุมชนต่างๆของตำบลมะนังยง ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการป่วยด้วยโรคไอกรนที่เพิ่มขึ้น และโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้นในสถานศึกษา ปอเนาะ ถึงแม้จะใช้การใส่ทรายอะเบท และการพ่นกำจัดยุงลาย ก็ยังไม่สามารถลดอัตราการป่วยของโรคดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญของการเกิดโรคคือยุงลาย และลูกน้ำที่จะต้องเจริญเติบโตเป็นยุงในบางระยะไม่สามารถกำจัดได้ด้วยทรายอะเบท จึงจำเป็นต้องใช้การกำจัดโดยการลดแหล่งน้ำเพาะพันธุ์ ภายในบ้านและในชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ จึงเห็นว่าการให้ความรู้กับเยาวชน/นักเรียนในโรงเรียน จะสามารถลดจำนวนลูกน้ำที่จะเป็นยุงในอนาคตได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้แกนน้ำสามารถสำรวจลูกน้ำยุงลายร่วมกับ อสม.ที่ได้รับผิดชอบการสร้างเสริมและป้องกันโรคในพื้นที่ หากกิจกรรมดังกล่าวดำเนินได้เป็นอย่างดีจะพัฒนาไปสู่การส่งเสริมและป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อในอนาคต จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค (อสม.จิ๋ว)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศํกยภาพของผู้นำเด็กและเยาวชนอายุ 7-12 ปี ให้มีความรู้ในการปฏิบัติงานการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.ค่า HI น้อยกว่า 10 2.ค่า CI เท่ากับ 0 3.ลดอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนคนในชุมชนที่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 พ.ค. 67 จัดดำเนินกิจกรรมอบรมผู้นำเด็กและเยาวชน (นักเรียนตาดีกา) 0 9,900.00 -
1 - 30 ส.ค. 67 คืนข้อมูลผลการดำเนินงานแก่เครือข่ายในชุมชน 0 750.00 -
รวม 0 10,650.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชน มีการพัฒนาศักยภาพตนเอง มีความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน
  2. เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร จิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน ในการดูแลสุขภาพของคนภายในชุมชน 3 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 14:44 น.