กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 67-L3361-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลลำปำ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรพล ทองบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,100.141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพเเวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพสูงขึ้นประชาชนมีรายได้น้อยวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนไปเกิดพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมออกกำลังกายน้อยลงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคนอัตราป่วยต่อเเสนประชากร 860.53 ส่วนโรคเบาหวานพบประมาณ 3 ล้านคน อัตรป่วยต่อเเสนประชากร 675.74(ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ พบว่าโรคเรื้อรัง 2 อันดับโรคแรก คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่สามารถทำให้อาการควยคุมโรคได้ ได้รับการรักษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง มีประชากรซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน183 รายและรับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ จำนวน 60 รายและโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน441รายและรับยาต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ จำนวน 137 รายผู้ป่วยซึ่งป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้งหมดในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และเกิดโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็ว ทั่วถึงและต่อเนื่องลดภาระค่าใช้จ่ายให้เเก่ผู้ป่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและลดความแออัดผู้ป่าวยที่รับยาโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลพัทลุงทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำปำ เห็นความสำคัญจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวจึ่งได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะเเทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องมีความรู้ ความเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่้อป้องกันภาวะเเทรกซ้อน

1.กลุ่มผู้ป่วยจำนวน 50 คนที่มารับยาโรคเรื้อรังที่ รพสต.ลำปำได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองเพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อน

2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่ื่อม หรือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้การทำงานของไตดีขึ้น/มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

2.กลุ่มผู้ป่วย จำนวน 50 คนที่มีภาวะไตเสื่อมหรือผู้ป่วยที่มีภาวะมีน้ำตาลสะสมในเลือดสูง ค่าผลตรวจเลือด ดีขึ้นร้อยละ 50

3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม หรือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูง ได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการทำงานของไต(GFR)และค่าน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1C) ซ้ำ จำนวน 1 ครั้งหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3.ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมหรือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการทำงานของไต(GFR)และค่าน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1C)ซ้ำ จำนวน 1 ครั้ง หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 1.การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง(19 มี.ค. 2567-19 มี.ค. 2567) 0.00            
รวม 0.00
1 1.การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรับยารพสต.ลำปำ มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคแทรกซ้อน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่สภาวะปกติมากกว่าร้อยละ 40 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง 2.อัตราการเกิดโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 14:33 น.