กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "ส่งเสริมสุขภาพในช่องปากและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย"
รหัสโครงการ L5259.005/2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,985.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตรา บุญสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.396,100.884place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ต.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 7,985.00
รวมงบประมาณ 7,985.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 109 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากไม่ดูแลเอาใจใส่ จะส่งผลเสียต่อตัวเด็ก ทำให้เด็กไม่ได้รับการพัฒนา โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมในการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤกรรมการบริดภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ จึงทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอต่อร่างกายและส่งผลต่อพัมนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตอีกด้วย และการดูแลสุขภาพกายเด็กควรจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งจากทางบ้าน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพเด้ก ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง และชุมชน นับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้ความร่วมมือและช่วยเหลือพัฒนาเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็ก ครูผู้ดูแลเด็กผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารกลางวัน ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กและสุขอนามัยของปฐมวัย และนำความรู้ที่ได้รับไปดูแลรักษาสุขภาพอนามัยในช่องปากและสุขภาพร่างกายของเด็กได้อย่างถูกวิธี 2.เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโหยมีอัตราการป่วยของเด็กลดลง 3.เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโหยได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยในช่องปาก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.องค์การบริหารส่วนตำบลบาโหยมอบหมายภารกิจโครงการ 2.จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย 3.ประสานวิทยากร เพื่อจัดกิจกรรมอบรมเสริมยุทธศาสตร์/ทักษะ/ องค์ความรู้ใหม่ แก่ผู้ร่วมโครงการ 4.จัดทำเป้าหมาย และกระบวนการพัฒนารวมถึงกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 5.ดำเนินกิจกรรมพัฒนาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด 5.1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง "การดูแลสุขภาพในช่องปากและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยที่ดี" ให้แก่ เด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และ ผู้ประกอบอาหาร โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารกลางวันได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัย และนำความรู้ที่ได้รับไปดูแลรักาาสุขภาพอนามัยในช่องปากและสุขภาพร่างกายของเด็กได้อย่างถูกวิธี 2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโหยมีอัตราการป่วยของเด็กลดลง 3.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโหยได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยในช่องปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 16:12 น.