กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เด็กปฐมวัยไม่จมน้ำ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนท่าสะอ้าน
รหัสโครงการ L7250-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนท่าสะอ้าน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 97,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภคพร สงแก้ว ตำแหน่ง ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนท่าสะอ้าน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.197989,100.601667place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.4/ ว1214 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2564 เรื่องการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น ปีการศึกษา 2564 ซักซ้อมการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย      โดยกำหนดให้มีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงโดยเน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าก้ม อย่าเก็บ” และการตะโกนขอความช่วยเหลือ และจากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆปีมีเด็กทั่วโลก อายุ 2-6 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 140,553 คน โดยเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์ สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุ 2-6 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียชีวิตสูงมากกว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงและไข้เลือดออกถึง 14 เท่าตัวจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2561) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 11,323 คน นอกจากนี้ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากจมน้ำ พบว่า (ปี 2557 – 2561) กลุ่มเด็กอายุ 2-6 ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงเฉลี่ยถึงปีละ 213 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมดในปัจจุบันอุบัติเหตุจากการจมน้ำยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กซึ่งสาเหตุดังกล่าวยังเป็นอันดับแรกของการเสียชีวิตของเด็กส่วนใหญ่ของประเทศไทย
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนท่าสะอ้าน สังกัดเทศบาลนครสงขลา ได้เล็งเห็นความสำคัญจากอันตราย          ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก แต่เด็กยังต้องได้รับการป้องกันและดูแลความปลอดภัยที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ครูผู้สอน            และผู้ปกครองจึงมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาเด็กนักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เด็กปฐมวัยไม่จมน้ำ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนท่าสะอ้าน
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนรู้จักหลีกเสี่ยงการเล่นน้ำในที่เสี่ยงอันก่อให้เกิดอันตราย
  1. ร้อยละ 90 ของเด็กนักเรียนไม่อยู่ในภาวะเสี่ยงจากการจมน้ำ
90.00
2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะการว่ายน้ำและทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ
  1. ร้อยละ 90 ของเด็กนักเรียน มีทักษะการว่ายน้ำและป้องกันการจมน้ำ
90.00
3 3. เพื่อให้ครู ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะ สามารถแนะนำผู้อื่นถึงวิธีการเอาตัวรอดจากการจมน้ำได้

๓. ร้อยละ 90  ผู้ปกครองและครูมีทักษะการแนะนำเด็กนักเรียนให้เอาตัวรอดจากการจมน้ำ

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับ อย่าก้ม อย่าเก็บ และการตะโกนขอความช่วยเหลือ(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 22,080.00              
2 กิจกรรมฝึกปฏิบัติทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 75,620.00              
รวม 97,700.00
1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับ อย่าก้ม อย่าเก็บ และการตะโกนขอความช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 323 22,080.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 202 12,120.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 121 7,260.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,800.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯข 0 900.00 -
2 กิจกรรมฝึกปฏิบัติทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 96 75,620.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอุปกรณ์การสอนป้องกันจมน้ำ 0 3,100.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,200.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากรร่วม 0 3,600.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าบริการสระว่ายน้ำ 96 1,920.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 หุ่นการทำ CPR (สำหรับเด็ก) 0 12,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 หุ่นตุ๊กตาจำลองการช่วยเหลือเด็กสำลักอาหาร 0 53,500.00 -
1 ก.ย. 67 - 2 เม.ย. 68 ค่าจัดทำสรุปรูปเล่ม 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในชุมชน
  2. เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะความปลอดภัยเกี่ยวกับการจมน้ำ
  3. ครูออกแบบกิจกรรมที่เน้นการสอนให้เด็กรู้จักวิธีป้องกันตัวเองในการอยู่ใกล้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผู้ปกครองสามารถนำกิจกรรมไปจัดที่บ้านได้     4. เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและครูในการป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่เกิดจากการจมน้ำของเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 14:26 น.