กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptrospirosis) ในชุมชนอย่างเร่งด่วน
รหัสโครงการ 61-L1520-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 ธันวาคม 2560 - 31 มกราคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 12,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ธ.ค. 2560 19 ธ.ค. 2560 12,700.00
รวมงบประมาณ 12,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2831 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์อุทกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่อำเภอวังวิเศษเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัยประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกันเป็นเวลานานซึ่งในปี 2560 มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนขาดรายได้ ไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2560 ถึงวันที่11 ธันวาคม 2560จังหวัดตรังได้รับรายงานผู้ป่วยโรคLeptospirosisจำนวนทั้งสิ้น 138 รายคิดเป็นอัตราป่วย 21.60ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 4ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ0.63 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ2.90อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอวังวิเศษ พบผู้ป่วยจำนวน 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 41.57ต่อประชากรแสนคน เมื่อแยกรายตำบลพบว่าตำบลอ่าวตงพบผู้ป่วยสูงที่สุดถึง 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 65.24 ต่อแสนประชากรรองลงมา คือตำบลท่าสะบ้า จำนวน 3 ราย อัตราป่วย 55.27 ต่อแสนประชากรและตำบลวังมะปราง 2 ราย อัตราป่วย 52.92 ต่อแสนประชากรตำบลวังมะปรางเหนือ 3 ราย อัตราป่วย 33.39 ต่อแสนประชากรตำบลเขาวิเศษ 2 ราย อัตราป่วย 16.01 ต่อแสนประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปงมีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)ในชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง

 

2 เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว

ร้อยละ 100 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคฉี่หนู

3 เพื่อให้แกนนำสามารถคัดกรองผู้ป่วยโรคฉี่หนูและประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 แกนนำสามารถคัดกรองโรคฉี่หนูได้ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,700.00 2 12,700.00
14 ธ.ค. 60 - 31 ม.ค. 61 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคฉี่หนู 0 11,300.00 11,300.00
28 ธ.ค. 60 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู 0 1,400.00 1,400.00
  1. จัดทำแผนงานโครงการขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ
  2. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
  3. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
  4. จัดตั้งศูนย์การเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในระดับตำบล/รพ.สต.
  5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยรถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis)หรือโรคฉี่หนู
  6. รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบแบบเคาะประตูบ้านเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนูและการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชนทุกหลังคาเรือน
  7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
  8. รายงานผลการปฏิบัติงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและสามารถป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตัวเอง
  2. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง.
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2560 09:21 น.