กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L5188-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,129.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนฤมล ตันติสุขุมาล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีการตรวจพบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารอันตราย
70.00
2 มีการตรวจพบว่ามีสารปนเปื้อนในอาหารสด ที่จำหน่ายชุมชน

การอุปโภค และบริโภคที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนมีสุขภาพดี การบริโภคที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่การเจ็บป่วย เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในระดับต้นของประเทศ ปัญหาการบริโภคในปัจจุบัน และเกิดในทุกส่วนของการบริโภค ตั้งแต่ ความด้อยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบที่เกิดจากผู้ผลิต มุ่งหมายแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ประกอบกับผู้บริโภคขาดข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ หรือบริการทำให้พฤติการณ์การบริโภคมีปัญหาเพิ่มมากขึ้นไปอีก เช่น การใช้ยาในทางที่ผิด ถูกเอารัดเอาเปรียบในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการ ทำให้ได้รับอันตราย หรือเสียเปรียบโดยไม่รู้เท่าทัน ประกอบกับการคุ้มครองด้านการบริโภคของประเทศยังไม่มีความชัดเจนเป็นเอกภาพ ยิ่งทำให้ปัญหาการบริโภคเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายที่จะมุ่งสร้างหลักประกัน และความมั่นคงการมีสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน โดยกำหนดเป็นนโยบาย และเป็นภารกิจระดับชาติที่อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรด้านสุขภาพที่รวมพลังสังคมเพื่อประชาชนสุขภาพดี” และมีเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข หัวข้อที่ 1 P&P Excellence (การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ และความปลอดภัยด้านอาหาร และลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคติดต่อไม่เรื้อรัง) หัวข้อที่ 3 Governance Excellence (ความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์และการคุ้มครองผู้บริโภค) สอดคล้องกับการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขตามนโยบายรัฐบาล ข้อ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนมิให้ได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลต้องได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และตรวจสอบ ติดตาม คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานที่จำหน่าย ในปี พ.ศ.2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า จึงได้สร้างเสริมศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการงานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพภายใต้การบริการแบบมีส่วนร่วม โดยจัดตั้งศูนย์แจ้งเดือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ที่มีกลไกเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการรับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล และการสร้างเสริมศักยภาพของผู้บริโภคในชุมชน โดยร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 จัดอบรมแกนนำอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ที่ช่วยขับเคลื่อนศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า มีแกนนำอสม.นักวิทย์ จำนวน 16 คน ผ่านการอบรมจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 จำนวน 4 คน มีการทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำจากร้านขายอาหารในชุมชนจำนวน 16 ตัวอย่าง พบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 3 ตัวอย่าง จึงให้อสม.นักวิทย์ที่รับผิดชอบในพื้นที่แจ้งไปยังเจ้าของร้านและแนะนำการเลือกซื้อน้ำมัน พร้อมลงผลการทดสอบในหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพของกรมวิทย์ With you เพื่อเฝ้าระวังให้ประชาชนทราบต่อไป จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยการพัฒนาและสร้างศักยภาพศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเอง โดยอาศัยข้อมูลจาก อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้เป็นการดำเนินงานต่อยอดและขยายผล เพื่อให้การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียน การจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารอันตรายในร้านขายของชำ ร้านอาหารและแผงลอย

ไม่พบการจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีสารอันตรายในร้านขายของชำ ร้านอาหารและแผงลอย

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,129.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 กิจกรรมการประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ 0 1,350.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร (สารปนเปื้อน 4 ชนิด ) น้ำดื่มน้ำแข็ง และน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค 0 3,550.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมการทดสอบสารอันตรายเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค 0 2,229.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 2.ไม่พบสารปนเปื้อนในร้านอาหาร แผงลอย และแผงขายอาหารสด และไม่พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายในร้านขายของชำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2567 10:10 น.