กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ L7250-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 160,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี พรหมอ่อน ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.201055,100.603041place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖๔ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัว ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นตามอายุและต้องการพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น จากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 พบว่า จังหวัดสงขลามีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป  ในเขตตำบลบ่อยางมีผู้สูงอายุ จำนวน 12,048 คน ข้อมูลประชากรกลางปีงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครสงขลา จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นในทุกปี และการเป็นสังคมที่มีประชากรสูงอายุจำนวนมาก ประกอบกับการพัฒนาที่เน้นคุณภาพคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการเตรียมความพร้อมของระบบการดูแลผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อคงความสามารถของผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็น สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและมีความผาสุก เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ เทศบาลนครสงขลาได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ขึ้นในปี 2560  เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา ได้มีการรวมกลุ่มและพัฒนาศักยภาพโดยสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมศักยภาพให้สามารถพึ่งตนเองได้ และใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12        (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยให้ความสำคัญ กับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์สามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่รวดเร็ว โดยการปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ พัฒนาศักยภาพให้มีทักษะความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับสังคมสูงวัย และผลักดันให้ สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็งต่อไป ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ การพึ่งพาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลามาเข้าร่วมกิจกรรม

80.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม ทั้ง 4 มิติ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ

ร้อยละ ๘๐ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมในระดับดี

80.00
3 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัยอย่างครบวงจร

ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุที่ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

90.00
4 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ ระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรที่เกี่ยวข้อง ภาคส่วนอื่นในท้องถิ่น และส่วนกลาง ตลอดจนภาคีเครือข่ายและทีมสุขภาพในพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืนเป็นรูปธรรม

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ มากกว่าหรือเท่ากับ 1

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมการเรียนรู้(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 160,600.00              
รวม 160,600.00
1 กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 160,600.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 50,400.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 60 50,400.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าสมนาคุณวิทยากร 0 36,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับโครงการ 0 12,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่ากระเป๋าผ้าสำหรับใส่เอกสารพร้อมสกรีน 0 5,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าป้ายไวนิลขนาด 0 1,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ 0 3,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับโครงการ 0 2,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าจัดทำเล่มสรุปโครงการ 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ร่วมอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเอง เกิดการสืบสาน ถ่ายทอด และเผยแพร่ ความรู้ภูมิปัญญาโดยผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ 9.2 ผู้สูงอายุสามารถพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่มีทักษะในการดูแลตนเองได้ตามภาวะสุขภาพ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสุขภาพจิตที่สดใสมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง 4 มิติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2567 10:21 น.