กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ(โรคไข้เลือดออก)2567
รหัสโครงการ 67-L5188-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 68,574.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยูดีน หมัดสะเม๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 378 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1091 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 3563 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 980 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากตำบลเกาะสะบ้าสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับเชิงเขาอากาศค่อนข้างชื้นและโรคติดต่อที่พบบ่อยมีโรคสุกใส โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วงและโรคไข้เลือดออก แต่ในส่วนของตำบลเกาะสะบ้าโรคติดต่อที่เป็นปัญหามากจากการ ทำ SRM(ประชาคม)คือโรคไข้เลือดออกและเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงมากในปี 2559 ถึง 383.65 /แสน ปชก.และลดลงมาในปี 2560 เป็น 112.80 /แสน ปชก. เพิ่มขึ้นในปี 2563 และในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวนหลายราย และยังเป็นปัญหาที่สำคัญของตำบลเกาะสะบ้า
โรคนี้ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในการที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคนี้ให้หมดไป ในพื้นที่อำเภอเทพาจะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำทุกๆ ปีในส่วนของตำบลเกาะสะบ้า พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทุกปีเช่นเดียวกันสำหรับในปี2566 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยจำนวน 25ราย คิดเป็นอัตราป่วย 415.83 /แสน ปชก.และคาดว่าในปี 2567 จะเป็นปีที่ระบาดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้า โดยเน้นให้ลดอัตราป่วยหรือจนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยเลย รพ.สต.เกาะสะบ้าอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการ“ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก” เพื่อลดปัญหาอัตราป่วยของประชากรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเพื่อสร้างนิสัยการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการแก้ไขเมื่อมีโรคเกิดขึ้นแล้ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุให้ต่ำกว่าเกณฑ์

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ไม่เกิน 50ต่อแสน ปชก.

49.90 50.00
2 ไม่พบอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก=0

0.00 0.00
3 เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไช้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน

จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI (House Index)ไม่เกินร้อยละ 10)

9.18 10.00
4 เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไช้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ

จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในที่สาธารณะ(วัด,โรงเรียน,มัสยิด,ศูนย์ตาดีกา,ศุูนย์เด็กเล็ก.สถานที่ราชการ)มีค่า=0 (ค่า CI (Contain Index)=0)

3.46 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 68,574.00 0 0.00
20 - 27 ก.พ. 67 จัดทำและเสนอโครงการแก่ กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า พร้อมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่าย 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ควบคุมและกำจัดโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดเคสผู้ป่วยในชุมชน 0 0.00 -
10 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการ 0 68,574.00 -
17 พ.ค. 67 ทำกิจกรรมบิกคลีนนิ่ง พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ เช่นโรงเรียน ,วัด.มัสยิด.ศูนย์เด็กเล็กและศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด 0 0.00 -
23 - 30 ก.ย. 67 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2567 ลดลง
  2. อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2567 เป็นศูนย์
  3. องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทุกหลังคาเรือน
  4. ดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2567 11:59 น.