กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชนและเสริมสร้างการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว
รหัสโครงการ L7250-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 34,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสนาะ กลิ่นบุบผา ประธานคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.197649,100.599951place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญของสังคมและการสาธารณสุข เนื่องจากพบว่าวัยรุ่นมีแนวโน้มมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสำนักอนามัยการเจริญพันธ์ ในปีงบประมาณ 2566 พบว่าในจังหวัดสงขลา คุณแม่วัยรุ่นอายุ 10 – 14 ปี มีจำนวน 30,000 คน อายุ 15 -19 ปี จำนวน 31,000 คน      ซึ่งพบว่าคุณแม่วัยรุ่นส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมและยังอยู่ในวัยเรียน จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ เป็นปัญหาหลายมิติ เยาวชนเองก็จะมีปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็กที่เกิดมาก็อาจได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่ดี กลายเป็นปัญหาสังคม การป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากโรงเรียนต้องให้ความรู้แก่ตัววัยรุ่นเองเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตทางเพศแล้ว ครอบครัวก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม      ซึ่งหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ /ผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องเพศ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านการสนทนาแบบ “เปิดใจคุย” โดยมีหัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นภาคีสำคัญในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจาก        การใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเสริมสร้างการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว ขึ้น เพื่อให้ชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และเยาวชน มีการรับรู้ ข้อมูล ทัศนะ และทักษะสื่อสารในครอบครัว ที่เป็นผลดีต่อการพัฒนาวัยรุ่นในการใช้ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัยและรับผิดชอบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ร้อยะล 80

80.00
2 เพื่อปรับทัศนคติหรือมุมมองให้แก่พ่อแม่ และบุตรวัยรุ่นที่เปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี

พ่อแม่และบุตรวัยรุ่นมีทัศนคติที่ดีและเปิดกว้างในเรื่องเพศวิถี ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารและการรับฟังที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตร หลาน วัยรุ่น

ผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจในการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลาน ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเสริมสร้างการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 34,320.00              
รวม 34,320.00
1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเสริมสร้างการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 116 34,320.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 58 6,960.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 58 6,960.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทน 0 14,400.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ 0 2,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเอกสาร วัสดุ/อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 0 4,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 พ่อแม่ ผู้ปกครอง และเยาวชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ     ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 9.2 พ่อแม่ ผู้ปกครองมีทัศนคติและมุมมองเรื่องเพศวิถีในวัยรุ่นที่เปิดกว้างขึ้น 9.3 พ่อแม่ ผู้ปกครองมีทักษะการสื่อสารและการรับฟังที่มีประสิทธิภาพ กับลูกวัยรุ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 08:58 น.