กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทำงาน
รหัสโครงการ L7250-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีเทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันทิพย์ สุวรรณวงศ์ ประธานกลุ่มสตรีเทศบาลนครสงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.196286,100.602354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มสตรีเทศบาลนครสงขลาประกอบด้วยสมาชิกวัยทำงาน ที่รวมกลุ่มกันประกอบอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มผ้าปาเต๊ะ กลุ่มผ้ามัดย้อม กลุ่มข้าวยำกรอบ กลุ่มน้ำพริก กลุ่มทำปลาตากแห้ง เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้อยู่ในอิริยาบถเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน อย่างเช่น กลุ่มผ้าปาเต๊ะต้องยืนพิมพ์เทียนระบายสีเป็นเวลานานๆ        ทำให้ปวดเท้า ปวดหลัง เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อย และมีภาวะเครียดร่วมด้วย การส่งเสริมสุขภาพ    จึงเป็นกระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข กลุ่มสตรีเทศบาลนครสงขลา เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกลุ่มสตรีที่ประสบปัญหาทางสุขภาพในการประกอบอาชีพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทำงานขึ้น เพื่อตอบสนองปัญหาสุขภาพของสตรีวัยทำงาน และสามารถดูแลตนเองได้โดยมีสุขภาวะกายและจิตใจที่สมดุลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ

กลุ่มสตรีมีความรู้ในเรื่องวิธีการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ ในระดับดี ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้สตรีสามารถผลิตน้ำมันไพลได้

กลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลได้ ร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อให้สตรีรู้จักวิธีการที่จะบรรเทาความปวดเมื่อย ความเครียดของตนเองและคนใกล้ชิดได้

กลุ่มสตรีสามารถบรรเทาความปวดเมื่อย ความเครียดของตนเองและคนใกล้ชิดได้ ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 9,000.00              
2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและการทำน้ำมันไพล(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 6,300.00              
รวม 15,300.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 9,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 50 3,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 1,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 0 1,800.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าป้ายไวนิล 0 700.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเอกสาร วัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 0 2,000.00 -
2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและการทำน้ำมันไพล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 6,300.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 1,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,800.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุในการทำน้ำมันไพล 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 สตรีที่เข้ารับอบรมมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ 9.2 สตรีที่เข้ารับอบรมสามารถผลิตน้ำมันไพลใช้เองและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนได้       9.3 สตรีที่เข้ารับอบรมรู้จักวิธีการที่จะบรรเทาความปวดเมื่อย ความเครียดของตนเองและคนใกล้ชิดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 09:25 น.