กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายทุกกลุ่มวัย ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L5215-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมรักษ์สุขภาพ
วันที่อนุมัติ 27 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสถิตย์ อุตมะมุณีย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการของชมรมรักษ์สุขภาพได้เห็นความสำคัญของโรคหรือภาวะที่ทำให้ป่วย พิการ และตายมากที่สุดในปัจจุบันนี้คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable Disease (NCD) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย อัมพาตและมะเร็ง ห้าโรคหลักที่กล่าวมานี้เป็นเป้าหมายที่ยุทธศาสตร์ระดับชาติคือ“ยุทธศาสตร์ สุขภาพดี วิถีชีวิตไทย” โดยใช้ยุทธวิธีที่เรียกว่า “ใส่ใจ ๓ อ. บอกลา ๒ ส.” คือ อ.อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ.อารมณ์ (ออกกำลังใจ) ส.สูบบุหรี่ และ ส.เสพสุรา เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างพอเพียง เพิ่มอิริยาบถ เคลื่อนไหว ออกกำลังกาย ดูแลภาวะจิตใจ อารมณ์ให้มีความสงบสุข งดการสูบบุหรี่หรือดมควันบุหรี่จากผู้อื่นที่สูบและลด ละ เลิก การดื่มสุราของมึนเมา ยาเสพติดให้โทษ ได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่มจะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก ๓ อ ๒ ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จึงได้จัดทำโครงการรักษ์สุขภาพปีงบประมาณ ๒๕๖๑ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและ ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 1 50,000.00
23 ธ.ค. 60 - 22 ก.ย. 61 1.ส่งเสริมสุขภาพ 0 50,000.00 50,000.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และผู้นำการออกกำลังกาย
  4. ดำเนินการตามโครงการ 4.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะกรรมการที่ปรึกษาและสมาชิกชมรมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการรักษ์สุขภาพ และความรู้เรื่องสุขภาพกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย
    4.2 จัดกิจกรรมทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน เวลา 13.00-17.00 น. ซึ่งมีกิจกรรม

- ตรวจคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสมาชิกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว) - ให้ความรู้เรื่องสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้มีความรู้หรือผู้มีประสบการณ์ด้านสุขภาพ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สุขภาพ จากผู้ประสบความสำเร็จเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ - สมาชิกชมรมรวมตัวกันออกกำลังกาย เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที - อารมณ์ จัดกิจกรรมสันทนาการ - อาหาร จัดอาหารว่างและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
4.3 กิจกรรมรักสุขภาพ ประกอบด้วย
- กิจกรรมการตรวจสุขภาพทั่วไปและติดตามภาวะสุขภาพ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนตามฤดูกาล โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว) - ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- ตรวจคัดกรองข้อเข่าเสื่อม โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- ตรวจคัดกรองสุขภาพจิต โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว)อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีอนามัยตำบลเขารูปช้างสาขา 2 (เขาแก้ว) 4.4 กิจกรรมออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เวลา 16.00-17.00 น.
- กลุ่มผู้สูงวัย มีกิจกรรมต่างๆ เช่น เต้นบาสโลป โนราบิก ดั่งดอกไม้บาน ตาราง 9 ช่อง - กลุ่มวัยรุ่น มีกิจกรรมต่างๆ เช่นกีฬาฟุตบอล ตะกร้อ เปตอง วอลเล่ย์บอล 4.5 ประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการที่ปรึกษาและสมาชิกชมรมเพื่อวางแผนและสรุปผลการดำเนิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ. 2ส.
อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. สมาชิกมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
3. สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพและเกิดกระแสสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2560 10:42 น.