กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านร่วมใจพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3367-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 25 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 18,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุขวิทย์ มานันตพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ม.8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนไม่มีความเข้าใจ / ตระหนักในการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านโหล๊ะเร็ดออก หมู่ที่ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 229 หลังคาเรือน ประชากร 725 คน หมู่บ้านได้แบ่งเขตบ้านเป็น 3 เขตบ้าน คือ กลุ่มบ้านโหล๊ะเร็ดออก กลุ่มบ้านไทรทอง และกลุ่มบ้านโหล๊ะเร็ดใต้ มีกลุ่ม อสม.กลุ่มพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.) กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จากการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน พบว่าขยะเป็นปัญหาหลัก ในปัจจุบันปริมาณขยะ ร้อยละ 90 ของขยะทั้งหมดถูกกำจัดโดยการเผา รองลงมาคือการนำไปทิ้งในที่สาธารณะ ซึ่งยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีจุดเสี่ยงที่มักจะมีการนำขยะมาทิ้งกองไว้ในที่สาธารณะและไม่มีการจัดการ 2 จุด ส่งผลกระทบไปในอีกหลายๆ ปัญหา เช่น ปัญหาการหมักหมมของขยะในที่สาธารณะ เกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอยู่อาศัยของสัตว์นำโรค นอกจากนี้ยังมีขยะทิ้งอยู่ข้างถนน ริมสวนยาง ส่วนขยะถุงพลาสติก เมื่อมีฝนตกมีน้ำขังในภาชนะเกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และทำให้ประชาชนในชุมชนต้องเสียเวลา เสียเงินค่ารักษาพยาบาล เนื่องมาจากผลกระทบมาจากไข้เลือดออก นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่สวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์และแมลงมีพิษเมื่อมีฝนตกก็มีการชะล้างเอาสิ่งสกปรกลงไปในลำห้วยหลักของหมู่บ้าน ทำให้เกิดภาวะน้ำเสียประชาชนใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำไม่ได้ ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจมีรายจ่ายในเรื่องของการเฝ้าระวังและรักษาโรคที่เกิดจากปัญหาขยะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ และการจัดการขยะ

1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ขยะ
1.2 ประชาชนเข้าร่วมเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 50%
1.3 มีครัวเรือนเข้าร่วมจัดการขยะไม่น้อยกว่า 50%
1.4 มีทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

50.00 60.00
2 เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะ

2.1 เกิดกลไกที่ประกอบด้วยแกนนำชุมชนภาคีเครือข่าย (ทีม)
2.2 มีกฎกติกาเป็นมาตรการทางสังคมเพื่อการจัดการขยะ
2.3 รายงานการติดตามประเมินผล
2.4 มีแผนที่ทางเดินขยะ
2.5 ครัวเรือนปฏิบัติตามกติกาทุกข้ออย่างน้อย 50%
2.6 ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 80%
2.7 ขยะในที่สาธารณะได้รับการจัดการ
2.8 มีข้อมูลการลดขยะ/การนำขยะไปใช้

1.00 1.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน

3.1 ขยะครัวเรือนลดลง 50%
3.2 ขยะถูกนำไปใช้ 40%
3.3 ขยะในชุมชนและที่สาธารณะได้รับการจัดการทุกจุด

85.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,050.00 0 0.00
3 มิ.ย. 67 - 27 ก.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน 0 7,800.00 -
1 ก.ค. 67 - 25 ก.ย. 67 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดการขยะต้นทาง 0 10,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะ โดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะ
  2. สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดีขึ้น
  3. โรคที่เกิดจากสัตว์และแมลงลดลง
  4. ลดปริมาณขยะในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567 07:49 น.