กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงไตวายในชุมชนตำบลบ้านน้อย ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้อย
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 13,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวนีย์ สุขจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.044904,100.289675place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 13,050.00
รวมงบประมาณ 13,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease) ที่จำเป็นต้องรักษา โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม การล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นต้น สาเหตุของโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งกรณีที่ไม่ทราบค่าไตของตนเอง หรือทราบ แต่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลหรือระดับความดันโลหิตได้ ทำให้ไตเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดก็เข้าสู่ระยะสุดท้าย จากสถิติของสำนักโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 7.6 ล้านคน สาเหตุจากโรคเบาหวานร้อยละ 40.7 และโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 27.3 ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องประมาณ 70,000 คน โดยรัฐบาลต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงปีละ 10,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตำบลบ้านน้อย มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 272 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 353 คน ผลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต พบระยะที่ 1 จำนวน 58 คน ระยะที่ 2 จำนวน 122 คน ระยะที่ 3 จำนวน 62 คน ระยะที่ 4 จำนวน 15 คน และระยะที่ 5 จำนวน 4 คน ซึ่งแต่ละปีมีแนวโน้มของผู้ป่วยระยะ 3-5 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้อย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยง เลี่ยงไตวายในชุมชนตำบลบ้านน้อยปี 2566 โดยเน้นให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับรู้ถึงระยะไตของตนเอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในความรุนแรงของโรค รวมทั้งมีการจัดกระบวนการกลุ่มเพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีปฏิบัติตนในการชะลอความเสื่อมของไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลตนเอง พร้อมพัฒนาศักยภาพ ตนเอง สร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ และตระหนักถึงการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไต

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 13,050.00 0 0.00
1 - 15 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน 0 0.00 -
16 - 30 ก.ย. 65 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 0 0.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 ติดตามประเมินผลงานตามตัวชี้วัด 0 0.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 คัดเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้หลักเกณฑ์ 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่อง การป้องกันและดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และให้ความรู้ที่สำคัญต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 80 13,050.00 -
15 - 31 ส.ค. 66 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
  2. ผู้ป่วยและญาติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลตนเอง พร้อมพัฒนาศักยภาพตนเอง สร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชน 3.ลดอัตราการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 4.ประชาชนในชุมชน มีความรู้ และตระหนักถึงการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2565 00:00 น.