กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนครตรัง เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ ใส่ใจผู้ป่วยวัณโรค
รหัสโครงการ 2567-L6896-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 101,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัตนภรณ์ พรหมสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีภารกิจในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในเขตเทศบาลนครตรัง เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ประกอบกับตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 มาตรา 16 ให้เทศบาลมีหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ              เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาลในส่วนของการสาธารณสุข การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ       วัณโรคเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีวัณโรคสูง รายงานองค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ. 2565 พบว่าอุบัติการณ์วัณโรคของประเทศไทยคิดเป็นอัตรา 150 ต่อแสนประชาการ อัตราการครอบคลุมการรักษาวัณโรค (Treatment coverage) ร้อยละ 84
      จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคในเขตเทศบาลนครตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 –      30 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยวัณโรคในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 54 ราย ซึ่งจำแนกเป็น ผู้ป่วยรายใหม่    51 ราย ผู้ป่วยรายเดิม 3 ราย (ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา 1 ราย) โดยพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาสำเร็จจำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.59 ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.70 ความล่าช้าในการแสวงหาการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยวัณโรคล่าช้า อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยรุนแรง ในบางรายไอเรื้อรัง จนถึงขั้นไอเป็นเลือด บางรายมีอาการเหนื่อย หอบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมาก บางรายน้ำหนักตัวลดมากกว่า 10 กิโลกรัม ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพโภชนาการ ร่างกายขาดสารอาหาร เกิดความเครียดและทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย ส่งผลให้อาการของโรคและอาการแพ้ยารุนแรงมากขึ้น หรือถึงขั้นเสียชีวิตระหว่างรักษา ประกอบกับผู้ป่วยบางรายมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย       การส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารครบถ้วน 5 หมู่ จะเป็นการเสริมสร้าง ฟื้นฟูภูมิต้านทานของผู้ป่วยวัณโรคให้มีสุขภาพแข็งแรง ประกอบกับการให้ผู้ป่วยได้รับการรับประทานยาต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง ลดความรุนแรงของผลข้างเคียงจากยา ลดการเสียชีวิตระหว่างรักษาวัณโรค และสามารถกลับไปทำงาน  หารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้       การเยี่ยมบ้านเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วย ทำให้เจ้าหน้าที่รับทราบสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา สามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งเสริมสร้างพลังใจและ  ส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการช่วยเหลือดูแลอย่างรอบด้าน    งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการนครตรัง เยี่ยมถึงเรือน เยือนถึงใจ ใส่ใจผู้ป่วย เพื่อขอเสนอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครตรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับเยี่ยมบ้านติดตามดูแลรักษาจากทีมสหวิชาชีพ

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียน ได้รับการเยี่ยมบ้านติดตามดูแลรักษาจากทีมสหวิชาชีพ

2 เพื่อเพิ่มความสำเร็จของการรักษา

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน ได้รับการรักษาครบตามที่กำหนด

3 เพื่อให้ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคได้รับการตรวจคัดกรอง

ร้อยละ 80 ของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคได้รับการตรวจคัดกรอง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมเยี่ยมบ้านเพื่อติดตาม ดูแล สอบถามสภาพปัญหาผู้ป่วยวัณโรค 0 99,250.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เข้ารับการตรวจคัดกรอง 0 2,300.00 -
รวม 0 101,550.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการติดตามดูแลรักษาจากทีมสหวิชาชีพ
  2. ผู้ป่วยวัณโรครักษาสำเร็จตามกระบวนการรักษา
  3. ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค
  4. ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคได้รับการตรวจคัดกรอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567 15:28 น.