กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ม.1-6 ตำบลท่าหิน ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ท่าหิน
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันนา ชอบแต่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2301 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
370.45

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากข้อมูล รง. 506 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ม.1-6 ต.ท่าหิน พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 9 ราย อัตราป่วย 390.45 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต และในปี 2567 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 29 กุมภาพันธ์ 2567) ม.1-6 ต.ท่าหิน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 4 ราย อัตราป่วน 173.53 ต่อประชากรแสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถ้าหากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุงลายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน จึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหิน

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง(2562-2566)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 2.หมู่บ้าน ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3.ร้อยละ 100 ของรพ.สต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่า CI เท่ากับ 0

9.00 2.00
2 เพื่อกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้าน มีค่า HIน้อยกว่า 100

0.00 6.00
3 เพื่อให้รพ.สต.โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลอดลูกน้ำยุงลาย

1.ร้อยละของครัวเรือน มีค่า HI < 10, CI=0 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับค่าMEDAINย้อนหลัง 5 ปี

0.00 6.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,000.00 0 0.00
21 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 รณรงค์ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อมีการระบาด 0 33,000.00 -
21 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ 0 0.00 -
21 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 อสม.ลงพื้นที่ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมสุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 -
21 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 Big Cleaning ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี (2562-2566)
2.ทุกหมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้
3.รพ.ส.ต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่า CI เท่ากับ 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 00:00 น.