กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน/เบาหวาน ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3020-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ แวอาแซ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและโรคอ้วนลงพุง ทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก ปัจจุบันพบว่าอัตราความชกของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีรวมถึงผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจัดอยู่ในอันดับที่ 1 และพบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงพบโรคแทรกซ้อนร้อยละ 55.77 และยังพบว่ามีผู้ป่วย เบาหวานความดันโลหิตสูง ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากถึงแม้ว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันทีแต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดข้อจำกัดด้วยความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตสูงมีความสำคัญในการควบคุมความรุรแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3 อ 3 ส จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้
จากข้อมูลการคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2565 ถึงปี 2567 พบว่า มีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตร้อยละ 93.20,98.89 และ 96.84 ตามลำดับ คัดกรองเบาหวานร้อยละ 95.64, 97.62 และ 94.50 ตามลำดับ โดยผลจากการคัดกรองพบว่า มีประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยพบว่าเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 97.64, 82.91 และ 88.48 และส่งสัยป่วยร้อยละ 0.11, 8.55 และ 5.10 ตามลำดับ และพบประชาชนกลุ่มส่งสัยป่วงเบาหวาน ร้อยละ 1.64, 2.18 และ 2.29 ตามลำดับ ผลจากการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความดันโลหิตสูง/เบาหวานพบว่าอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน พบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นโดยพบว่าอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร 539.41, 811.69 ตามลำดับ และปีงบประมาณ 2567(ต.ค.66-ม.ค.67) 241.74 อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 215.92, 378.79 และปีงบประมาร 2567(ต.ค.66-ม.ค.67) 80.58 ตามลำดับ และจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนแระชาชนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พื้นที่ ม.1-3 ตำบลม่วงเตี้ย มีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 3147 คน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 304 คน คิดเป็น 9659.99 ต่อแสนประชากร รับการรักษาต่อเนื่องในปี 2567 จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 38.16 ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 108 คน นับการรักษาต่อเนื่อง 46 คน คิดเป็นร้อยละ 42.60
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ ม.1-3 ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตรับผิอชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย มีอัตราการกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเสี่ยงเบาหวานที่สูงมีอัตราป่วยที่สูงซึ่งมาตรการในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้ให้การรักษาและความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และการติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยเครือข่ายต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของชุมชนต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ ลดเสี่ยง ลดโรค ลดแทรกซ้อน จากความดัน/เบาหวาน ปี 2567 เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิต จากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิดสูง/โรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจสามาถดูแลตนเองตามหลัก 3 อ 3 ส ได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิดสูง/โรคเบาหวาน มีความรู้ความเข้าใจสามาถดูแลตนเองตามหลัก 3 อ 3 ส ได้อย่างถูกต้อง

90.00
2 เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน รายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ลดลง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ลดลงจากปีที่ผ่านมาเบาหวานรายใหม่ลดลงจากปีที่ผ่านมา

2.50
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้รับการรักษาและเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้รับการรักษาและเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง

60.00
4 เพื่อให้เกิดกระบวนการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุชม

มีระบบการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 326 30,800.00 0 0.00
5 มี.ค. 67 อบรมให้ความรู้แลฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ 3 ส 58 10,980.00 -
6 มี.ค. 67 ให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและญาติในการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 3 ส 70 3,900.00 -
21 มี.ค. 67 เยี่ยมบ้านติดตามระดับความดันโลหิต/น้ำตาลในเลือดพร้อมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและญาติในการดูแลสุขภาพโดย อสม. และแกนนำชุมชน ตามละแวกบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 เดือน 140 12,600.00 -
21 มี.ค. 67 ประชุมถอดบทเรียน อสม. แกนนำชุมชน การดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน 58 3,320.00 -

ขั้นเตรียมการ
1.จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงาน
2.วางแผนและกำหนดรูแปบบกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายงาน
2.ประสานความร่วมมือ ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการแก้ผู้เกี่ยวข้อง จนท. อสม. แกนนำชุมชน
3.ประชาสัมพันธิโครงการ
4.ทำข้อตกลงร่วมกัน มอบหมายภารกิจในการช่วยเหลือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การติดตาม การรายงานผล
5.ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ ดังนี้
กลุ่มเสี่ยง ความดัน เบาหวาน
-ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการและมอบหมายภารกิจแก่ อสม. แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่มอบหมายภารกิจ
-จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
-จัดกิจกรรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส แก่กลุ่มเสี่ยงความดัน เบาหวาน
-จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิต การเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว และแบบบันทึก
-ฝึกทักษะญาติ/ผู้ป่วยให้สามารถวัดความดันโลหิตได้ และวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องจรครบ 7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก
-เจาะเลือดตรวจ FPG สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
-หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 mm.Hg. ส่งพบแพทย์
-ติดตามระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลปลายนิ้วและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 3 อ 2 ส ที่บ้าน/ละแวกบ้าน ตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม.อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
-ประชุมกลุ่มย่อยร่วมกัน อสม. แกนนำต่างๆเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 3 อ 2 ที่บ้าน/ละเวกบ้าน ตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม. เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง และส่งพบแพทย์กรณีค่าน้ำตาลสูงกว่า 126 mg./dl.
ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
1.แกนนำ อสม. รพ.สต.ร่วมประเมินผล ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน
2.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม./แกนนำ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสามารถเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพแก่ชุมชนได้
2.อสม./แกนนำ มีทักษะสามารถแปลผลค่าความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดและสามารถอธิบายผู้ป่วยและญาติ สามารถเฝ้าระวังโรคได้
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับเกณฑ์ปกติได้
4.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
5.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินของโรค และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
6.ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี
7.เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน เกิดการเฝ้าระวังภัยสุขภาพในชุมชนโดยเครือข่ายชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 10:01 น.