กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเกษตรกรตำบลท่าช้าง ประจำปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศิริชัย มักคุ้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยจะทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ตา ระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ ซึ่งขึ้นอยู่ว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด หากมีการสะสมไว้ จนร่างกายไม่สามารถทนได้ จะแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็งต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ ในตำบลท่าช้าง ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำสวนผลไม้ และสวนยางพารา คิดเป็นร้อยละ 79 ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจาย และขยายวงกว้างอยู่ในพื้นที่ เกษตรกรในพื้นที่ยังคงมีการใช้สารเคมีอยู่เป็นจำนวนมาก การนำมาใช้ไม่ถูกวิธี ขาดความรู้และความตระหนักในการใช้สารเคมีให้ถูกต้อง จึงทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง
เครือข่ายสุขภาพ อสม.ตำบลท่าช้าง เล็งเห็นความสำคัญในความเสี่ยงของประชาชน ซึ่งมีโอกาสสัมผัสโดยตรงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการได้รับสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม ผัก ผลไม้ โดยสารเคมีที่ใช้ในขณะนี้มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส คาร์บาเมต ซึ่งอันตรายมีทั้งพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง มีผลต่อระบบประสาทและอวัยวะต่างๆในร่างกาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีในการเกษตรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีโดยเจ้าหน้าที่

๑. ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืชได้รับการตรวจค้นหาความเสี่ยง

2 เพื่อให้เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3 เพื่อให้เกษตรกรที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำภายใน 1 เดือน

ร้อยละ 100 ของผู้ตรวจพบสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำภายใน 1 เดือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานและการเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่ม  ไม่ปลอดภัยต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ให้แก่ อสม.รพ.สต.ท่าช้าง 2.การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการตรวจคัดกรองและดำเนินการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช


3.ประชุมติดตามกลุ่มเสี่ยงและจัดทำฐานข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดโดยเจ้าหน้าที่
  2. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำภายใน 1 เดือนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 11:03 น.