กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกเมา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 96,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาจินต์ สุขศรีสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการจมน้ำ เนื่องจากเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับโลกและประเทศ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียเสียชีวิตอันดับ ๑ ในกลุ่มเด็กอายุ ๕-๑๔ ปี สำหรับประเทศไทยในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๖) พบเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๖,๙๙๒ คน เฉลี่ยปีละละเกือบ ๗๐๐ คน โดยเด็กอายุ ๑-๙ ปี มีการเสียชีวิตสูงสุด โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมใหญ่หน้าร้อน (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)สาเหตุที่พบบ่อยคือ ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและการช่วยเหลือคนตกน้ำ จมน้ำที่ถูกต้อง ขณะที่ผลการสำรวจของกรมการควบคุมโรค ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๖๒ พบว่าเด็กไทยอายุ ๖ ปีขึ้นไป ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ ๒๘.๔ และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ ๙.๔ (เด็กไทยเกือบ ๗ ล้านคนว่ายน้ำเป็นเพียง ๑.๙ ล้านคน ) ซึ่งประเทศไทยได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำตามมติสหประชาชาติที่เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการป้องกันการจมน้ำใน ๑๐ ประเด็นหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การสอนให้เด็กทุกคนมีความรู้เรื่องความความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการปฐมพยาบาล โดยการสร้างทีมผู้ก่อการดี (MERT MAKER) เพื่อป้องกันการจมน้ำให้ครอบคลุมทุกตำบล จนเกิดเป็นผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับขององค์การอนามัยโลก กิจกรรมสำคัญคือ ๑. สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ขณะที่พาเด็กมารับวัคซีน/ตรวจพัฒนาการ ๒.การสนับสนุนให้เด็กแรกเกิด-๒ ปี มีคอกกั้นเด็กใช้ในทุกครัวเรือน และเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มีพื้นที่เล่นที่ปลอดภัย ๓.การร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ในพื้นที่ สนับสนุนให้เด็กอายุ ๖ ปีขึ้นไป สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำ และ ๔.ให้เด็กอายุ ๑๒ ปีขึ้นไปทำ CPR เป็น เนื่องจากการปกป้องคุ้มครองเด็กไม่ให้เสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นงานสำคัญที่ทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อลดการเสียชีวิต ของเยาวชนก่อนวัยอันควร     โรงเรียนบ้านโคกเมา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชนขึ้น เพื่อเป็นการ Kick ๐ff กิจกรรมรณรงค์ “Survival Swimming Skill เพื่อเด็กไทยไม่จมน้ำ” จะทำให้เด็กที่เขาร่วมกิจกรรมตามโครงการได้มีความรู้ฝึกปฏิบัติทักษะเบื้องต้น ทั้งการเอาชีวิตรอดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่าน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ

เด็กและเยาวชนมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ

2 เพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชนของโรงเรียน

เด็กและเยาวชนมีทักษะการว่ายน้ำ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ฝึกทักษะการว่ายน้ำ     ๑.๑ การกลั้นหายใจใต้น้ำ     ๑.๒ การลอยตัวในน้ำ     ๑.๓ การใช้แขนช่วยพยุงตัวในน้ำ     ๑.๔ การเคลื่อนไหวในน้ำ     ๑.๕ การโผตัวในน้ำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและเยาวชนลดภาวะเสี่ยงจากการจมน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 13:32 น.