กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาร่วมใจ ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน เทศบาลนครตรัง
รหัสโครงการ 2567-L6896-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 69,864.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายตุลย์ ราชบัณฑิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 มาตรา 16 ให้เทศบาลมีหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาลในส่วนของ การสาธารณสุข การควบคุมป้องกันโรค นอกจากการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ แล้ว การป้องกันและควบคุมโรคที่สำคัญ เป็นการมุ่งเน้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะปัญหาโรคติดต่อต่างๆในชุมชน อันเนื่องมาจากสภาพสิ่งแวดล้อม ลักษณะการอยู่อาศัย สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ

จากข้อมูลโรคติดต่อในเขตเทศบาลนครตรังที่ได้รับรายงานตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยรวม 214 ราย มากที่สุดคือ โรคไข้เลือดออก 133 ราย คิดเป็น 239.56 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ โรคไข้หวัดใหญ่ 42 ราย คิดเป็น 75.65 ต่อแสนประชากร โรคมือเท้าปาก 34 ราย คิดเป็น 61.24 ต่อแสนประชากร และยังมีโรคติดต่ออื่นๆที่สามารถพบได้เช่น โรคฉี่หนู สุกใส อุจจาระร่วง เป็นต้น     งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ได้ตระหนักถึงปัญหาของโรคติดต่อที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน รวมถึงเฝ้าระวังการระบาดของโรคและลดอัตราการป่วยของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการประชาร่วมใจ ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน เทศบาลนครตรัง เพื่อขอเสนอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครตรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง โรคติดต่อในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อในชุมชน อยู่ในระดับดีของแบบประเมินหลังอบรม

2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง

อัตราป่วยโดยเฉลี่ยด้วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน(1 มี.ค. 2567-30 ส.ค. 2567) 69,864.00            
รวม 69,864.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 87 69,864.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน 87 44,364.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์โรคติดต่อ และปรับปรุงสุขาภิบาลในชุมชน 0 25,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของโรคติดต่อในชุมชน
  2. โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในเขตเทศบาลนครตรังลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 14:00 น.