กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในพื้นที่ตำบลทะนง ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลทะนง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 47,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาพร นาคพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 47,350.00
รวมงบประมาณ 47,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังสินค้าสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน และการออกตรวจสถานประกอบการในพื้นที่ตำบลทะนงปี 25656พบว่ามีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีสารอันตรายจำหน่ายยาชุด สินค้าหมดอายุเกลือที่ไม่ได้มาตรฐานมีสารไอโอดีนต่ำ ยังคงมีจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค ทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการป้องกันตนเอง ทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและนำผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีสารอันตรายมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง และประชาชนขาดความรู้ในเรื่องของอันตรายจากการใช้ยาชุดว่ามีอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยาชุดสามารถหาซื้อได้ง่ายในร้านชำในหมู่บ้าน ชาวบ้านใช้ยาชุดหรือยาลูกกลอนในการรักษาอาการปวดเมื่อยโดยชาวบ้านเรียกว่ายากระจายเส้น ในพื้นที่ตำบลทะนง จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลร้านค้าร้านชำ ร้านค้าแผงลอย และร้านเสริมสวย มีจำนวนร้านทั้งหมด 118 ร้าน แบ่งออกเป็น ร้านชำ 60 ร้าน ร้านแผงลอย 29 ร้าน และร้านเสริมสวย 29 ร้าน ร้านที่ผ่านการอบรมผู้ประกอบการร้านค้าและร้านค้าแผงลอยแล้ว จำนวน 44 ร้าน และร้านที่ยังไม่ได้เข้าร่วมการอบรมผู้ประกอบการร้านค้าและร้านค้าแผงลอย จำนวน 74 ร้าน แบ่งออกเป็น ร้านชำ 46 ร้าน ร้านแผงลอย 16 ร้าน และร้านเสริมสวย 12 ร้าน ดังนั้นเพื่อการดำเนินการงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ตำบลทะนงอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อเพิ่มความรู้ในเรื่องการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และสิทธิผู้บริโภค สารปนเปื้อน 5 ชนิด มาตรฐานเกลือไอโอดีน แก่แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน อสม.น้อย ผู้ประกอบการร้านค้า ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลทะนงจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในพื้นที่ตำบลทะนง ปี 2567 ขึ้นโดยมีการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมในการออกตรวจมาตรฐานร้านค้าและแนะนำพัฒนาสถานประกอบการในชุมชนให้ได้มาตรฐานพัฒนาฐานข้อมูลและสนับสนุนข้อมูลวิชาการต่างๆ เช่นสิทธิของผู้บริโภคความรู้เบื้องต้นเกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาอาหารเครื่องสำอางสถานพยาบาลการโฆษณาและฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

2 เพื่อให้อสม. อสม.น้อย ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือก ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิผู้บริโภค มาตรฐานโรงครัว/โรงอาหารในโรงเรียน การใช้ยาที่ ปลอดภัยในชุมชน

แกนนำ อสม. คกก.คบ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง  การเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิผู้บริโภค มาตรฐานโรงครัว/โรงอาหารในโรงเรียน การใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3 เพื่อติดตามตรวจมาตรฐานร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดนัด ร้านชำ และแหล่งกระจายยาในพื้นที่ตำบล

ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ทุกประเภทได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานทุกร้าน

4 เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ตำบลทะนง

กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้สารเคมีในเลือดลดลงอยู่ในระดับปกติหรือปลอดภัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,350.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล 0 2,200.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 อบรม แกนนำอสม. ผู้นำชุมชน, คกก.คบ, ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอยจำหน่ายอาหาร 0 8,600.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 3 ตรวจมาตรฐานร้านค้าในพื้นที่ พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนามาตรฐานร้านค้า 0 16,850.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 4 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดสารเคมีในเลือด 0 19,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 คณะกรรมการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 2 แกนนำ อสม. คกก.คบ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิผู้บริโภค มาตรฐานโรงครัว/โรงอาหารในโรงเรียน การใช้ยาที่ปลอดภัยในชุมชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ทุกประเภทได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานทุกร้าน 4 กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้สารเคมีในเลือดลดลงอยู่ในระดับปกติหรือปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 00:00 น.