กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต (Healthy workplace happy for life)
รหัสโครงการ 2567-L6896-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานวางแผนสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 86,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววาสินี กี่สุ้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ปฏิบัติมากกว่ากิจกรรมใดๆ คาดกันว่ามนุษย์ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตเป็นอย่างน้อยที่อยู่ในที่ทำงาน และถ้าหากเวลาส่วนมากของชีวิตในการทำงานนั้น ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนเองพอใจก็จะช่วยให้มีสภาพจิตใจและอารมณ์ที่จะส่งเสริมให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ซึ่งย่อมถือว่ามีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีและส่งผลต่อชีวิตโดยรวมรวมของบุคคลผู้นั้นให้เป็นสุข ซึ่งแสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย อันจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาองค์กรต่อไปด้วย โดยมีทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเพราะว่าบุคลากรที่ดีจะสามารถอำนวยประโยชน์และสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร แม้องค์กรใดจะมีเงินมีเครื่องจักรที่ทันสมัยรวมถึงมีการบริหารจัดการที่ดีเพียงใดแต่หากขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและมีทัศนคติที่ไม่เหมาะกับงานก็อาจส่งผลในระยะยาวให้องค์กรนั้นๆไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้(ชนิดา เล็บครุฑ, 2554) ฉะนั้นองค์กรจำเป็นจะต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและกระบวนการในการทำงานรวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างคุณภาพชีวิตการในทำงานของพนักงานด้วย ดังนั้นในการทำงานองค์กรจึงต้องสนใจสุขภาพ อนามัย อารมณ์ทัศนคติ จิตใจและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงาน เนื่องจากว่าองค์กรที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้นจากบุคลากรทุกคนภายในองค์การร่วมกัน ทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย (เชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกุล, 2530)
    ประกอบกับตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554) บังคับให้ผู้ประกอบการ และนายจ้างทั้งภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อประโยชน์แก่ลูกจ้างโดยไม่บังโดยไม่ใช้บังคับกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นและกิจการอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง แต่ส่วนราชการต้องจัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัตินี้
    เทศบาลนครตรัง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขจนถึงปัจจุบัน โดยมีหน่วยงานย่อย จำนวน 8 หน่วยงานย่อย ได้แก่ สำนักการช่าง สำนักการศึกษา สำนักปลัดเทศบาล กองคลัง กองการเจ้าหน้าที่ กองสวัสดิการสังคม กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ หน่วยตรวจสอบภายใน และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยมีบุคลากรซึ่งประกอบด้วยพนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง จำนวนทั้งหมด 683 คน ซึ่งมีพนักงานที่ปฏิบัติงานในลักษณะการทำงานในสำนักงาน จำนวน 248 คน (ข้อมูลจากกองการเจ้าหน้าที่ เทศบาลนครตรัง ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2566)   กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลนครตรัง จึงได้จัดทำโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต (Healthy workplace happy for life) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของเทศบาลนครตรังได้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของเทศบาลนครตรัง ได้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้อต่อการสุขภาพที่ดี
  1. ร้อยละ 100 ของสำนัก/กอง ภายในเทศบาลนครตรัง ได้รับการประเมินสภาพแวดล้อมสถานที่ทำงาน ตามเกณฑ์ “การประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และความสุขของคนทำงาน” ของกรมอนามัย
  2. ร้อยละ 100 ของสำนัก/กอง ได้รับคำแนะนำในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้เหมาะสมเอื้อต่อการทำงาน
2 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและป้องกันเจ็บป่วยจากสถานที่ทำงาน โดยวิธีการทางการยศาสตร์ และการจัดอาการออฟฟิศซินโดรม

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจด้านการยศาสตร์และสามารถนำความรู้หลักการของกายศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ชีวิตการทำงาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมประเมินการเกิดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานและสรุปผลการประเมินโครงการ 0 300.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และความสุขของคนทำงาน” ของกรมอนามัย 4 ด้าน 0 0.00 -
20 มี.ค. 67 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องดูแลสุขภาพและป้องกันเจ็บป่วยจากสถานที่ทำงาน โดยวิธีการทางการยศาสตร์ และการจัดอาการออฟฟิศซินโดรม 0 85,900.00 -
รวม 0 86,200.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. บุคลากรของเทศบาลนครตรังมีสภาพแวดล้อมในการทำงานและมีวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดโรค ปลอดภัยจากการทำงานและมีสุขภาพอนามัยที่ดี
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการยศาสตร์ สามารถป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุหรือโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน ตลอดจนสามารถนำความรู้แนวทางปฏิบัติไปเผยแพร่สู่เพื่อนร่วมงานได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2567 14:37 น.