กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัยขาแข็งแรง ป้องกันหกล้ม
รหัสโครงการ 67-L5163-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 29,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารีรัตน์ ชูโชติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมภาพตำบลบ้านแหลมหาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนข้อต่อ ร้อยละ 80 – 90

พบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป ก่อให้เกิดอาการปวดข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว ข้อเข่าติดและพิสัยการเคลื่อนไหวข้อลดลงทำให้ส่งผลต่อการประกอบกิจวัตรประจำวันการทำงานรวมถึงสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (วันทนียา วัชรีอุดมกาล และคณะ, 2557)ทำให้มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ จุดมุ่งหมายในการรักษา คือ ลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามความเหมาะสม (กรมการแพทย์, 2557) การรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมประกอบด้วยการรักษาทางยา การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การสอนวิธีการป้องกันข้อ สอนวิธีการใช้ข้ออย่างถูกต้อง แนวทางการรักษาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การใช้ยาแผนปัจจุบันและกายภาพบำบัด แต่พบว่า การดูแลรักษาด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบันแม้จะได้ผลดีในแง่ของการบรรเทาอาการปวดและอักเสบ แต่มักมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การติดยาแก้ปวด หรือเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาต้านการอักเสบ แสดงให้เห็นว่าการดูแลรักษาอาการที่เกิดขึ้นให้หายขาดแล้วยังก่อให้เกิดอาการข้างเคียง และภาวะแรกซ้อนต่อผู้ป่วยและการดูแลรักษา
จากการศึกษางานวิจัยและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีการนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดเพื่อทดแทนการใช้ยาแก้ปวด เช่น การรักษาด้วยวิธีการประคบสมุนไพร ซึ่งอาศัยฤทธิ์ของไพลเป็นหลักในการลดอาการบวมอักเสบ และอาการปวดและเกลือในการดูดความร้อนนำพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ และการรักษาด้วยวิธีการพอกยาสมุนไพรพอกเข่า สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่ามาพอกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า (ปิยะพล พูลสุข และคณะ, 2561) คลายกล้ามเนื้ออาการปวดจากข้อเข่าเสื่อมนอกจากนี้ยังมีแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การรักษาด้วยยาสมุนไพร มีทั้งชนิดที่เป็นยารับประทานและยาใช้ภายนอก การรักษาด้วยหัตถการ เช่น การนวดไทยแบบราชสำนัก การนวดแบบเชลยศักดิ์ การนวดแบบพื้นบ้านเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว การแช่และการประคบสมุนไพรเป็นการรักษาที่ได้จากสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย และจากความร้อนของลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น นอกจากนี้การประคบยังใช้รักษาร่วมกับการนวดด้วยเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบวมบรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณเข่าได้ (กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 2559)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา มีประชากรผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 540 คน ซึ่งมีสัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 21.13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากฐานประชากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด ณ 20 มกราคม 2567)ในปี 2567ได้ดำเนินการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : BGS) พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าและเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้ม จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 21.11 (ข้อมูลจากทะเบียนบุคคล การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง ในระบบสารสนเทศด้านข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา ณ 20 มกราคม 2567) ผู้สูงอายุควรได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการดูแลตนเองจากบุคลากรสาธารณสุข โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ผู้สูงอายุสามารถนำไปปฏิบัติให้เหมาะสม เพื่อจะช่วยลดอาการปวดข้อเข่าไม่ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และอาจจะชะลอการเสื่อมของข้อเข่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ได้

0.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและชะลอภาวะเข่าเสื่อม

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและชะลอภาวะเข่าเสื่อม

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน มีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย และยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดปวดและลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเข่าเสื่อมและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเข่าและขา

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย และยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดปวดและลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเข่าเสื่อม

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน ได้รับการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการประเมิน   1.1 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
  1.2 ระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score)

0.00
4 เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อทำสมุนไพรลูกประคบและสมุนไพรแช่เท้า

1.ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ด้านการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อทำสมุนไพรลูกประคบและสมุนไพรแช่เท้า 2.ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำสมุนไพรลูกประคบและสมุนไพรแช่เท้าใช้เองในครัวเรือนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,500.00 0 0.00
??/??/???? การให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมการให้ความรู้การผลิตและใช้ลูกประคบสมุนไพร 0 29,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 00:00 น.