กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการสุขภาพแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8405
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.03,100.537place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบรูณ์แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอในกลุ่มหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ให้นมบุตร รวมถึงผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2579 ดังนั้นสุขอนามัยของมารดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ล่าช้าและฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ มีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกในระยะยาว เช่น ภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนดทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย และภาวะเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย ดังนั้นการฝากครรภ์และการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์จึงมีความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของมารดาและอัตราการรอดชีวิตก่อนและหลังคลอด   งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานหนึ่งที่เป็นการพัฒนาคุณภาพประชากรซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ หญิงหลังคลอดและทารกปลอดภัยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนมีสุขภาพสมบรูณ์แข็งแรงให้ความสำคัญในการดูแลเด็กในช่วงวัยแรกเกิด เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรก เพราะนมแม่มีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาสมองและสติปัญญาของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างยิ่งคือหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี ดังนั้นเพื่อให้การดูแลหญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด ในเขตรับผิดชอบของตำบลทุ่งใหญ่ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึัน แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการโดยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีสุขภาพสมบรูณ์และทุกชุมชนมีส่วนร่วมในดูแลการทำงานแบบเชิงรุกในการติดตามเยี่ยมและส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องเพื่อให้มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิด มีสุขภาพดีปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน มีความรู้ความเข้าใจเข้าใจในการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด ส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ระดับหนึ่ง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสุขภาพแม่และเด็กปี 2567 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้มีภาวะโภชนาการที่สมบรูณ์และแข็งแรงลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความตระหนักในการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 60

2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้ตระหนักในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง คุณภาพ ร้อยละ 60

3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่อายุน้อยกว่า 20 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไม่เกิน 40 ต่อประชากรหญิง อายุ 15- 19 ปี

4 เพื่อให้เด็กอาบุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการอายุกว่า 20 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้งกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณ
1 กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด(21 พ.ค. 2567-21 พ.ค. 2567) 0.00
2 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง โรงเรียนพ่อ-แม่ โดยจัดกิจกรรม ที่ รพ.สต.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน วิชาการเรื่อง(24 มี.ค. 2567-24 มี.ค. 2567) 29,300.00
รวม 29,300.00
1 กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง โรงเรียนพ่อ-แม่ โดยจัดกิจกรรม ที่ รพ.สต.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน วิชาการเรื่อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 29,300.00 0 0.00
25 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง โรงเรียนพ่อ-แม่ โดยจัดกิจกรรม ที่ รพ.สต.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน วิชาการเรื่อง 0 29,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลตนเอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย 2.สถาบันครอบครัวเข้มแข็งสามารถดูแลลูกได้อย่างคุณภาพตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่นให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลง 3.หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่และมีโภชนาการที่สมบรูณ์ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2567 16:13 น.