กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลหญิงตั้งครรภ์มารดาและทารกในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L1536-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2024
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2024 - 30 กันยายน 2024
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2024
งบประมาณ 11,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุษา ทองมุกดากุล
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กตั้งแต่ในครรภ์ เพื่อส่งเสริมการเกิดให้มีคุณภาพ ย่อมสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขภาพอนามัยของแม่ เนื่องด้วยสุขภาพของแม่ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึง ระยะหลังคลอด ในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาโครงสร้างสมองสูงสุด จึงจำเป็นต้องมีการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ทารกสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย จากงานศึกษาวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ การมีโรคประจำตัวของมารดา ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ การได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก โฟเลตและไอโอดีน การฝากครรภ์ครั้งแรก ≤ 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์
        เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือเพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือการได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ และการเสริมทักษะการเลี้ยงดูบุตรที่ดีจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการสร้างเสริมเครือข่ายและการพัฒนาศักยภาพขององค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ อสม.แกนนำสุขภาพในชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพระบบบริการทั้งเชิงรับและเชิงรุกในชุมชนด้านการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อสุขภาพมารดาและทารกที่มีคุณภาพ

จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ พบว่าการดำเนินงานฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ การรณรงค์การฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ผลการดำเนินงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด คือร้อยละ ร้อยละ ๗๒.๕ ไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด และโดยไม่ได้ฝากครรภ์ ๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๓๘ และฝากครรภ์หลัง ๑๒ สัปดาห์ ๑๐ รายคิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๑ ทั้งนี้  จากการสรุปผลการดำเนินงานการค้นหาหญิงตั้งครรภ์และการรรวบรวมข้อมูลพบว่า  การเข้าถึงการรับบริการฝากครรภ์ที่ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์ ส่วนหนึ่งหญิงตั้งครรภ์ไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว มี การปกปิดในการตั้งครรภ์เนื่องจากตั้งครรภ์ไม่พร้อม และปกปิดสามี ส่งผลต่อการเข้ารับบริการฝากครรภ์ที่ล่าช้า ฝากครรภ์เกิน ๑๒ สัปดาห์ การตรวจพบสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์หลังจากส่งต่อตรวจเลือดในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดความกลัวไม่กล้ามาฝากครรภ์ตามเกณฑ์ตามที่กำหนดนัดหรือมาก่อนเมื่อรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ ระบบบริการการติดตามจากอสม.บางพื้นที่ยังพบว่าไม่ทราบข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ การไม่เข้าถึงผู้รับบริการส่งผลต่อการแนะนำการฝากครรภ์ที่ล้าช้า สำหรับการคลอดเด็กหลังคลอดมีหนักหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ผลการดำเนินงานทารกหลังคลอดมีน้ำหนักน้อยจำนวน ๓ รายคิดเป็นร้อยละ ๗.๕ ทั้งนี้สาเหตุในกลุ่มทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจาก หญิงตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และมีภาวะครรภ์เป็นพิษ จำนวน ๒ ราย สาเหตุจากการใช้สารเสพติดของหญิงตั้งครรภ์  จำนวน ๑ ราย ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการดำเนินการเฝ้าระวังและการติดตามอย่างใกล้ชิด
          ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่มเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบริการงานอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะการพัฒนาภาคีเครือข่ายการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “พัฒนาภาคีเครือข่ายการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกในชุมชนตำบลปากแจ่ม” โดยได้ดำเนินการบูรณาการงานขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ ๑,๐00 วันแรกของชีวิตสู่ ๒๕๐๐ วันเพื่อการพัฒนาต่อเนื่องและเพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของมารดาและทารกที่เหมาะสมอย่างเป็นองค์รวม โดยชุมชนมีส่วนร่วม อันส่งผลให้มารดาและทารกมีคุณภาพชีวิตที่พึงประสงค์ต่อไป

งบประมาณ       ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากแจ่ม เป็นเงิน ๑๑,๕๗๐บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)รายละเอียด ดังนี้

ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา๑ กุมภาพันธ์ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ 1. การสร้างเสริมเครือข่ายพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กตำบลปากแจ่ม

1.ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการในแกนนำเครือข่ายพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ระดับตำบล จำนวน เป็นเงิน ๗,๒๙๐บาท   1.๑ สมุดบันทึกเล่มละ ๒๐ บาทจำนวน ๙๐ เล่ม เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท   ๑.๒ แฟ้มเก็บเอกสารงานอนามัยแม่และเด็ก(ส่วนบุคคล)จำนวน ๙๐ แฟ้มแฟ้มละ ๕๕ บาท เป็นเงิน ๔,๙๕๐ บาท   ๑.๓ ปากกา จำนวน ๙๐ ด้าม ด้ามละ ๖ บาท เป็นเงิน ๕๔๐ บาท ๑ – ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗ ๒. การพัฒนาระบบริการงานอนามัยแม่และเด็กภายใต้การมีส่วนร่วมของทีมเครือข่ายสุขภาพ ทีมพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กระดับตำบล ๑.การจัดทำแบบติดตามพัฒนาระบบบริการงานอนามัยแม่และเด็ก เป็นเงิน ๓,๓๘๐ บาท   ๑.๑จัดทำนวัตกรรมแบบติดตามมารดาและทารกหลังคลอดในชุมชนและในสถานบริการ จำนวน ๖๐ แผ่นๆละ ๑ บาท เป็นเงิน ๖๐ บาท
  ๑.๒ จัดทำทะเบียนสำรวจฐานข้อมูลวัยเจริญพันธ์และอนามัยแม่และเด็ก จำนวน ๘๓ เล่มๆละ ๔๐ บาท เป็นเงิน ๓,๓๒๐ บาท ๑ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ๓.การส่งเสริมความรู้ในหญิงตั้งครรภ์พร้อมคู่สมรสหรือญาติและมารดาหลังคลอดในกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ๑.การจัดจ้างทำสื่อเอกสารความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวของมารดาและทารกหลังคลอดเป็นเงิน ๙๐๐ บาท -การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ จำนวน ๓๐ แผ่นๆละ ๑๐ บาทเป็นเงิน ๓๐๐ บาท -การปฏิบัติตัวหลังคลอด จำนวน ๓๐ แผ่นๆละ ๑๐ บาทเป็นเงิน ๓๐๐ บาท -ประโยชน์ของนมแม่จำนวน ๓๐ แผ่นๆละ๑๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐ บาท

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. พัฒนาเครือข่ายและตำบลตามแนวนโยบายมหัศจรรย์ ๒,๕๐๐ วันแบบยั่งยืน
    ๒. แกนนำ  อสม.และชุมชนเครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด และส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถดูแลสุขภาพตนเอง พึ่งตนเองมีสุขภาพดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2024 15:39 น.