กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2567 ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประภาส ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภฤกษ์ การะเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต  หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
    การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
        จากการรวบรวมข้อมูลในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ของตำบลคลองรี พบว่า ประชาชนในชุมชนมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารของทุกปี ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเตรียมอาหาร และการปรุงอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค การเก็บรักษาอาหารไม่มิดชิด แมลงวันตอม น้ำใช้ น้ำดื่มไม่สะอาด การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมไม่ถูกสุขลักษณะ และการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆของเด็กเล็ก เช่นขวดนม ยางกัด เป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จึงได้ดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยปี ๒๕๖๗ ขึ้นมา เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานอาหารปลอดภัย 2.ผู้ดูแลเด็ก 0 -5 ปี ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คลองรี ผู้ปรุงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แกนนำ อสม.ตำบลคลองรี ผู้ปรุงอาหารในงานต่างๆ มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย 3.แผงลอยขายอาหารในตำบลคลองรีผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ๔.ร้านชำในตำบลคลองรีผ่านเกณฑ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -มีเครือข่ายการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตำบลคลองรี 2.ร้อยละ  ๘๐ ของผู้ดูแลเด็ก 0 -5  ปี  ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คลองรี  ผู้ปรุงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  แกนนำ อสม.ตำบลคลองรี  ผู้ปรุงอาหารในงานต่างๆ มีความรู้เพิ่มขึ้น 3.แผงลอยขายอาหารในตำบลคลองรีผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ร้อยละ ๑๐๐


    ๔.ร้านชำในตำบลคลองรีผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ ๙๐ ของร้านชำที่ลงเยี่ยม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1.จัดประชุมระดมความคิดจากบุคลากรในรพ.สต./ อสม. และตัวแทนผู้ปกครองเด็กเพื่อให้ทราบสภาพปัญหา และแนวทางแก้ไขอันจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำโครงการ

กิจกรรมที่ 2. จัดทำโครงการ กิจกรรม ๓.อบรมสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยกลุ่มเป้าหมายดังนี้ -ผู้ดูแลเด็ก 0 -5 ปี ม.๑ – ม.๙ จำนวน ๕๐ คน -ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คลองรี จำนวน ๑ คน -ผู้ปรุงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คลองรี จำนวน ๑ คน
-แกนนำ อสม.ตำบลคลองรี ม.๑ – ม.๙ จำนวน ๙ คน -ผู้ปรุงปรุงอาหารในงานต่างๆ จำนวน ๔ คน -ป้ายไวนิลโครงการอาหารปลอดภัย จำนวน ๑ ป้าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ดูแลเด็ก 0 -5 ปี ม.๑ – ม.๙ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คลองรี ผู้ปรุงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แกนนำ อสม.ตำบลคลองรี ผู้ปรุงอาหารในงานต่างๆ ผ่านการอบรม ๑๐๐ เปอร์เซ็น ๒. โรงเรียนเข้าร่วมประชุมประชาสัมพันธ์ด้านอาหารปลอดภัยร่วมกับรถ Mobile ของจังหวัดสงขลา๑๐๐ เปอร์เซ็น ๓. ประชาชนมีความรู้ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยให้คุณค่าทางโภชนาการ ๔. แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจและผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ๑๐๐ เปอร์เซ็น ๕. ร้านชำในตำบลคลองรีได้รับการตรวจเยี่ยมผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๙๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 10:34 น.