กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรังอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 67-L5235-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,865.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี โภชนกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภฤกษ์ การะเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การปลูกถ่ายไต มีค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยรวม ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังกระจายอยู่ในชุมชนและหมู่บ้านทั่วประเทศ จึงถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนร่วมมือผลักดันทศวรรษการป้องกันและชะลอภาวะไตเรื้อรัง เพื่อขับเคลื่อนและร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไตทุกระดับ ซึ่งจะเป็นพลังในการแก้ไขปัญหาโรคไตอย่างยั่งยืนได้ งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจึงมีความสำคัญยิ่งในการป้องกันและชะลอการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ให้มีจำนวนที่ลดลงได้ในอนาคต ดังนั้นรพ.สต.คลองรี จึงขอเสนอ โครงการป้องกันและชะลอภาวะไตเรื้อรังอย่างยั่งยืนเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพส่วนท้องถิ่นตำบลคลองรี ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประชาชนที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้และปรับพฤติกรรมการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง 2.การลดลงของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในพื้นที่/ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้การป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง ๒. เพื่อให้ประชาชนปรับพฤติกรรมการป้องกันและชะลอมีภาวะไตวายเรื้อรัง

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง ๒.  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกับทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน มอบหมายงานผู้เกี่ยวข้อง 2.คัดกรองโรคไตในกลุ่มประชากรเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้มีความเสี่ยงโรคไต เช่น คัดกรองค้นหาในกลุ่มประชาชนทั่วไปเพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงโรคไตใช้ Thai CKD Risk Scoreของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
    3.คัดกรองโรคไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเช่น ซักประวัติ ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการ ตรวจคัดกรองเบื้องต้น 4.สร้างความตระหนักในกลุ่มประชากรเสี่ยงการจัดให้ความรู้และปรับ ลดพฤติกรรมเสี่ยงการพัฒนานวัตกรรมในสื่อสารและการสื่อสารความ รู้ที่มีประสิทธิภาพให้ความรู้และปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่

- ประชุมเชิงปฏิบัติการโดยให้ความรู้และคำแนะนำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาอย่างเหมาะสม - จัดทำเอกสาร/จัดหาสื่อการสอน ให้ความรู้ได้แก่ แผ่นพับความรู้โรคไต โปสเตอร์เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง - รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักในกลุ่มประชากรเสี่ยง เช่น ป้ายรณรงค์ป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรังให้ความรู้เรื่องโรคไตกลุ่มประชากรเสี่ยง ผู้ป่วยและญาติ 3.5 จัดทำทะเบียนผู้เสี่ยงโรคไตเพื่อกำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอ เช่น
- รวบรวมข้อมูลผู้มีภาวะเสี่ยงและเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
- บันทึกรายละเอียดสภาพปัญหาที่พบเป็นฐานข้อมูลคัดกรองเบื้องต้น 3.6 การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต เช่น
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าในชุมชนปรุงอาหารด้วยผักปลอดสารพิษ ลดหวาน มัน เค็ม
- ให้คำแนะนำ/ความรู้ด้านโภชนาการ เพื่อให้เกิดการปรุงและผลิตอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 3.7 การจัดระบบดูแลผู้ป่วยโรคไตในชุมชนและการเชื่อมโยงการบริการสุขภาพ เช่น
- ประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวในชุมชนเพื่อรับปรึกษาดูแลผู้ป่วย เช่น CKD clinic ในชุมชน - จัดพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วยฯ เพื่อไปตรวจ/ติดตาม/ประเมิน อาการที่พบความผิดปกติ - ประสานหน่วยบริการเพื่อส่งต่อผู้ป่วยฯ เข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการ 3.8จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้และปรับพฤติกรรมการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง 2.การลดลงของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในพื้นที่/ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 14:24 น.