กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมพาหนูน้อยฉีดวัคซีนประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L4155-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กาลูปัง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียะ ดายามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ เด็กที่มีอายุ 0 – 5ปี ต้องได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน แต่ปัจจุบันพบว่าในหลายพื้นที่ของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตอำเภอรามัน อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านบริบทของพื้นที่ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ โดยพบว่าเด็กที่มีอายุ 0 – 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้มากกว่า เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ หัด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้หากเกิดขึ้น ความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรค คอตีบ ไอกรน ทำให้ ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข จังหวัดยะลา ปี 2567 ได้กำหนดให้มีความครอบคลุมการให้บริการวัคซีนในเด็กอายุ 0 - 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ยกเว้น mmr ร้อยละ95 แต่จากข้อมูลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กวัย 0 - 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กาลูปัง ในปีงบประมาณ 2566พบว่า เด็ก 0 – 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ 62.0และเด็กอายุ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ และเด็กอายุ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ63.6 และเด็กอายุ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ 70 จากการทำเวทีประชาคมด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2566 ปัญหาความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี เป็นปัญหาหนึ่งซึ่งชุมชนให้ความสำคัญ พบว่า สาเหตุหลักที่ผู้ปกครองไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีน เนื่องจากหลังฉีดแล้วเด็กมีไข้ ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ และผู้ปกครองขาดความตระหนัก ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปังจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี โดยใช้กระบวนการหลัก คือ การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ในเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การพัฒนาระบบบริการในคลินิกเด็กดี ตลอดจนการติดตามเคาะประตูบ้านเพื่อฉีดวัคซีนในเด็กที่ผู้ปกครองไม่ยอมพามาฉีดวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการได้รับวัคซีนอย่างถูกต้อง

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการได้รับวัคซีนอย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ95

เพื่อให้เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ95

3 เพื่อให้อสม.มีความรู้ และมีศักยภาพ ในการประชาสัมพันธ์แก่ชาวบ้านโดยการให้สุขศึกษาที่ถูกต้อง

เพื่อให้อสม.มีความรู้ และมีศักยภาพ ในการประชาสัมพันธ์แก่ชาวบ้านโดยการให้สุขศึกษาที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
5 เม.ย. 67 ติดตามเยี่ยมเชิงรุกในเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 0 0.00 -
5 เม.ย. 67 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับวัคซีนและโทษที่ไม่ได้รับวัคซีน 70 10,000.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพของเด็ก0-5ปี 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 การตรวจคัดกรองเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 0 0.00 -
รวม 70 10,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 90
  2. อสม.มีความรู้และศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ในการๆด้รับวัคซีนที่ถูกต้อง 3.ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี มีความรู้โทษของการไม่ได้รับวัคซีนและประโยชน์ของการได้รับวัคซีนที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 13:22 น.