กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบางสามแพรก
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิเวศ พยมพฤกษ์
พี่เลี้ยงโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางสามแพรก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 13.24542314,99.91650224place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ราว 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามลำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ.2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และทุกๆ 100 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธืสถาบันวิจัยและพฒนาผู้สูงอายุไทยละสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558) จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือ ผู้สูงอายุติดสังคม หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ และอีกร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม ซึ่งในเขตองค์การบริหารส่วตำบลบางตะบูนมีผู้สูงอายุ 350 คน จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควร ดังนั้น เพื่อให้มีภาวะโภชนาการดี ลดการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ และความพิการซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น ชมรมผู้สูงอายุบางสามแพรก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และเกิดความร่วมมือดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อ้นื่อง

ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงและจัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  2. ชมรมผู้สูงอายุมีการจัดกิจกรรมทุกเดือน รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1.ปฏิบัติตามมารตรการโควิด-19 2.ตรวจสุขภาพ 3.ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 4.จัดกิจกรรมนันทนาการและออกกำลังกาย
  3. ติดตามเยี่ยมบ้าน พบปะ พูดคุย ให้กำลัใจ และเชิญชวนผู้สูงอายุประเภท 2 (ติดบ้าน) เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมทุกเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  2. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  3. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 15:02 น.